สิทธิของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างได้อะไรบ้างและควรทำอย่างไร

6 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สิทธิของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างได้อะไรบ้างและควรทำอย่างไร

              สิทธิของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างได้อะไรบ้างและควรทำอย่างไร

               การถูกเลิกจ้างกะทันหันอาจเป็นเรื่องที่กระทบต่อชีวิตทั้งทางด้านการเงินและจิตใจของลูกจ้างอย่างมาก แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายแรงงาน ที่นายจ้างต้องปฏิบัติตาม และในกรณีที่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม คุณอาจมีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยและเงินอื่น ๆ ได้ด้วย

              ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 การเลิกจ้างหมายถึง การที่นายจ้าง ไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้าง ไม่ว่าจะเกิดจากสัญญาจ้างสิ้นสุดลงหรือเหตุอื่นใด รวมถึงกรณีที่นายจ้างปิดกิจการจนไม่สามารถให้ลูกจ้างทำงานได้

              หากนายจ้างไม่อยากให้เราทำงานต่อแล้วเรียกร้องอะไรได้บ้าง!!!!

              กรณีที่ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เลิกจ้างไม่มีเหตุผล ลูกจ้างไม่ได้กระทำผิดร้ายแรง การทำงานของลูกจากไม่ตกอยู่ในภาวะพ้นวิสัย ... มีสิทธิเรียกร้องได้ดังนี้

              1.ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หากนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

              2.ค่าชดเชยตามอายุงาน ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ค่าชดเชย ตามระยะเวลาการทำงาน ดังนี้ (มาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2551)

             ระยะเวลาการทำงาน อัตราค่าชดเชยในค่าจ้างระยะเวลาการทำงานอัตราค่าชดเชยในค่าจ้าง

              ทำงานมาแล้วตั้งแต่ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ไม่น้อยกว่า 30 วัน

              ทำงานมาแล้วตั้งแต่ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ไม่น้อยกว่า 90 วัน

              ทำงานมาแล้วตั้งแต่ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ไม่น้อยกว่า 180 วัน

              ทำงานมาแล้วตั้งแต่ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ไม่น้อยกว่า 240 วัน

              ทำงานมาแล้วตั้งแต่ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ไม่น้อยกว่า 300 วัน

              ทำงานมาแล้วตั้งแต่ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ไม่น้อยกว่า 400 วัน

            3.ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ได้ใช้ หากลูกจ้างไม่ได้ถูกเลิกจ้างจากความผิดร้ายแรง เช่น ทุจริต ละทิ้งงาน หรือทำให้นายจ้างเสียหาย ลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับ ค่าจ้างแทนวันหยุดประจำปี ที่ยังไม่ได้ใช้ในปีนั้น (มาตรา 67 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2551)

            4.หากการเลิกจ้างนั้นไม่เป็นธรรม หากการเลิกจ้างไม่มีเหตุผลอันสมควร ลูกจ้างสามารถเรียกร้องให้ ศาลแรงงาน มีคำสั่งให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงาน หรือเรียกค่าเสียหายแทนการกลับเข้าทำงานได้ (มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522)

           การเลิกจ้างมีกรณีอื่น ๆ เช่น การเลิกจ้างตามสัญญา เลิกจ้างด้วยเหตุแห่งการเกษียณ การเลิกจ้างในช่วงทดลองงาน แต่ละกรณีมีผลทางกฎหมายและสิทธิเรียกร้องที่แตกต่างกัน หากต้องการทราบรายละเอียดที่ชัดเจนสอบถาม ปรึกษาทนายความ หรือ สำนักงานกฎหมาย ได้เลย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้