การฟ้องคดีในศาลปกครอง แบบสรุป

Last updated: 21 ส.ค. 2567  |  119 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การฟ้องคดีในศาลปกครอง แบบสรุป

            การฟ้องคดีในศาลปกครอง

           การจะฟ้องคดีในศาลปกครองได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่มีหน่วยงานของรัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือเอกชนที่ได้รับอำนาจให้ใช้อำนาจทางปกครอง อาทิเช่น มหาวิทยาลัยเอกชนได้รับอำนาจในการออกใบปริญญาบัตร ซึ่งเป็นการใช้อำนาจแทนหน่วยงานของรัฐ เป็นต้น โดยจะแบ่งแย่งออกเป็นหลายกรณี ดังนี้

          1. การออกกฎ ข้อบังคับ ประกาศและอื่นๆ เป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐนั้น ออกกฎ ข้อบังคับ หรือประกาศ ต่อประชาชนโดยทั่วไปโดยไม่ได้บังคับใช้เฉพาะบุคคลใดหรือกลุ่มใดกลุ่มนึง เมื่อการออกกฎ ข้อบังคับ หรือประกาศ นั้นส่งผลกระทบต่อประชาชน บุคคลก็มีสิทธิที่จะฟ้องไปยังศาลปกครองได้ เพื่อขอให้ศาลปกครอบยกเลิกกฎ ข้อบังคับหรือประกาศดังกล่าว

          2. คำสั่งทางปกครอง ซึ่งคำสั่งทางปกครองนั้นจะเป็นการออกคำสั่งของหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับอำนาจให้ใช้อำนาจทางปกครอง โดยคำสั่งทางปกครองจะเป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคลหรือออกคำสั่งให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งปฎิบัติตามคำสั่ง หากคำสั่งทางปกครองดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ที่ได้รับคำสั่งดัวกล่าวที่ได้รับความกระทบจากการออกคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ก็มีสิทธิที่จะฟ้องต่อศาลปกครองได้ แต่ทั้งนี้ต้องปฎิบัติตามขั้นตอนจนถึงที่สุดก่อนถึงจะฟ้องศาลปกครองได้ เช่น หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และให้อำนาจเจ้าของสิ่งปลูกสร้างสามารถที่จะอุทธรณ์คำสั่งต่อหน่วยงานดังกล่าวได้ ภายใน 30 วัน หากเจ้าของสิ่งปลูกสร้างยังไม่ได้ทำตามขั้นตอนดังกล่าว กล่าวคือไม่ได้ทำการอุทธรณ์เสียก่อน ก็จะมาฟ้องต่อศาลปกครองไม่ได้

          3. สัญญาทางปกครอง ซึ่งสัญญาทางปกครองนั้นจะเป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สัญญาและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน โดยมักจะพบมากที่สุดก็คือคู่สัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชน ซึ่งสัญญาทางปกครองนั้นจะเป็นการที่หน่วยงานของรัฐนั้นใช้อำนาจของรัฐเหนือเอกชนถึงจะเรียกว่าสัญญาทางปกครอง แต่หากหน่วยงานรัฐนั้นไม่ได้ใช้อำนาจเหนือเอกชน แต่ปฎิบัติกันเสมือนเป็นเอกชนกับเอกชน แบบนี้ก็จะเรียกว่าสัญญาทางแพ่ง ซึ่งจะต้องไปฟ้องยังศาลยุติธรรม มิใช่ศาลปกครอง ซึ่งศาลสัญญาทางปกครองนั้นนอกจากจะต้องเป็นหน่วยงานของรัฐกับเอกชนแล้ว การทำสัญญาจะต้องมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่จัดให้ทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสดงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติด้วย

            4. การละเมิดของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และเป็นการกระทำละเมิดโดยใช้อำนาจของรัฐด้วย ซึ่งผลของการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดนั้นหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวสังกัดอยู่ ก็จะต้องร่วมรับผิดชอบและชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายด้วย หรือจะเป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐกระทำละเมิดเองด้วย เช่น กรมทางหลวงมีหน้าที่ทำให้ต้นไม้ที่ปลูกบนทางเท้ามีความปลอดภัยแต่ประชาชนหรือผู้คนที่สัญจรบนถนน แต่กลับไม่ได้ดูแลรักษาจนเป็นเหตุให้ต้นไม้ล้มมาถูกรถยนต์ กรณีเช่นนั้น กรมทางหลวงจึงถือว่ากระทำละเมิด ผู้เสียหายจึงสามารถจะเรียกค่าเสียหายโดยฟ้องต่อศาลปกครองได้

            โดยการฟ้องคดีในศาลปกครองนั้นจะเป็นระบบไต่สวน ไม่ใช่ระบบกล่าวหา ศาลสามารถจะที่แสวงหาพยานหลักฐานด้วยตนเองเพิ่มเติมจากข้อเท็จจริงที่คู่ความเสนอได้ และเมื่อศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว หากคู่ความจะอุทธรณ์ ก็สามารถทำเรื่องอุทธรณ์ไปยังศาลปกครองสูงสุดได้
             นอกจากกรณีตามที่ได้อธิบายมาแล้ว ยังมีกรณีอื่นๆอีกที่ให้อำนาจศาลปกครองในการพิจารณาคดี แต่ตามความบทความนี้ขอยกมาเฉพาะในส่วนที่สำคัญเท่านั้น หากคุณกำลังประสบปัญหาที่มีความจำเป็นที่จะต้องฟ้องยังศาลปกครอง สามารถติดต่อสอบถามทางสำนักงานกฎหมายของเราได้ สำนักงานทนายความของเราพร้อมและยินดีจะช่วยเหลือคุณอย่างเต็มที่

 

 


             ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ

แฟนเพจ FB : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้