นายจ้างสามารถหักเงินเดือนได้หรือไม่

Last updated: 21 ส.ค. 2567  |  192 จำนวนผู้เข้าชม  | 

นายจ้างสามารถหักเงินเดือนได้หรือไม่

          นายจ้างสามารถหักเงินเดือนได้หรือไม่

          การทำงานให้แก่นายจ้างหรือทำงานในแต่ละบริษัทนั้น นายจ้างก็จะมีกฎหมายระเบียบเป็นของตนเอง ซึ่งแต่ละที่ข้อบังคับหรือระเบียบก็ย่อมที่จะแตกต่างกันออกไป หากลูกจ้างกระทำผิดกฎหรือระเบียบของนายจ้าง ก็ย่อมจะต้องมีบทลงโทษ เช่น ตักเตือนด้วยวาจา ตักเตือนเป็นหนังสือ ทําทัณฑ์บนไว้ พักงาน เลิกจ้าง รวมถึงหักเงินเดือน เป็นต้น ซึ่งนายจ้างหลายๆที่ก็มักจะมีบทลงโทษอย่างหนึ่งก็คือ การที่นายจ้างหักเงินเดือนหรือบริษัทหักเงินเดือนอยู่ด้วย เช่นการมาสายเกิน 3 ครั้ง ก็จะถูกหักเงินเดือนในเดือนนั้นๆ หรือทำความเสียหายให้แก่นายจ้าง ก็จะถูกหักเงินเดือน แต่อย่างไรก็ตามนั้น การหักเงินเดือนเป็นบทลงโทษที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน เพราะฉะนั้นนายจ้างไม่สามารถจะกระทำฝ่ายเดียวได้ จะดำเนินการหักเงินเดือนหรือลดเงินเดือนก็ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนด้วย

         พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 76 นายจ้างห้ามหักค่าจ้างของลูกจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง ยกเว้นในกรณีที่ลูกจ้างยินยอมให้หัก โดยต้องเป็นการยินยอมที่เป็นความประสงค์จากตัวลูกจ้าง และต้องได้รับความยินยอมนี้โดยตรงหรือเขียนลงเป็นหนังสือ การหักค่าจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างมีโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 10,000 บาท

         แต่อย่างไรก็ดีก็มีการหักเงินบางประเภทที่นายจ้างสามารถกระทำได้โดยลำพัก โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน เช่น หักภาษี ณ ที่จ่าย ค่าเงินเดือนส่งประกันสังคม เป็นต้น แต่การหักเงินบางอย่างแม้จะมีกฎหมายกำหนดหรือรองรับก็จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน เช่น หักค่าสหภาพแรงงานฯ ชำระหนี้สหกรณ์ หักเงินเข้ากองทุน หักเงินสะสมเป็นต้น

         กล่าวโดยสรุปก็คือ นายจ้างสามารถหักค่าจ้างได้ในกรณีที่ลูกจ้างยินยอมหรือการยอมรับแบบเป็นลายลักษณ์อักษร เท่านั้น รวมถึง การหักค่าสหภาพแรงงานฯ ชำระหนี้สหกรณ์ หักเงินประกันบางประเภท หรือหักค่าเสียหายโดยลูกจ้างต้องยินยอมส่วนการหักค่าจ้างหรือหักเงินเดือนซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย  เช่น การหักภาษี ณ ที่จ่าย หักค่าประกันสังคม สามารถกระทำได้ หากนายจ้างกระทำการหักเงินเดือนหรือลดเงินเดือนโดยลูกจ้างไม่ได้ยินยอมด้วย ลูกจ้างสามารถไปร้องเรียนได้ที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้

 

 


ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

สำนักงานทนายความ สำนักงานกฎหมาย

แฟนเพจ FB : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้