เทคนิคการทวงหนี้อย่างไร ให้มีโอกาสได้เงินคืน

Last updated: 12 มิ.ย. 2567  |  212 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เทคนิคการทวงหนี้อย่างไร ให้มีโอกาสได้เงินคืน

         เทคนิคการทวงหนี้อย่างไร ให้มีโอกาสได้เงินคืน

         การที่มีคนมายืมเงิน รวมถึงในกรณีอื่นๆที่เป็นหนี้กันเช่น หนี้จากการซื้อขายสินค้า หนี้จากการเล่นแชร์ หนี้จากการผิดสัญญา เป็นต้น เมื่อเป็นหนี้กันแล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ การทวงหนี้จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำในลำดับต่อมา เพราะหากไม่ทวงหนี้ในหลายๆกรณีลูกหนี้ก็จะเพิกเฉย และโอกาสที่จะได้เงินคืนจึงน้อยลง ตามบทความนี้จะเป็นเทคนิคในการทวงหนี้เองในเบื้องต้นและการทวงหนี้โดยทนายความ โดยมีรายละเอียดดังต่อนี้

         1. ต้องกล้าที่จะทวง อันดับแรกต้องเริ่มจากการที่ต้องกล้าที่จะทวงก่อน โดยไม่ต้องสนใจว่าลูกหนี้จะคิดอย่างไร โดยเริ่มต้นทวงหนี้อย่างสุภาพ ถามถึงเหตุผลที่ยังไม่ชำระหนี้ ถามถึงระยะเวลาในการคืนหนี้ ซึ่งในการทวงหนี้ต้องถามระยะเวลาที่จะคืนทุกครั้ง แม้ลูกหนี้จะไม่ชำระตามที่ได้บอกเลยก็ตาม

        2. ทวงหนี้บ่อยๆ การติดตามทวงหนี้บ่อยๆแต่ไม่ควรถี่จนเกินไป โดยเว้นระยะเวลาในการทวง เช่นทุกๆ 3-5 วันเป็นต้น ซึ่งเป็นการทำให้ลูกหนี้ตระหนักถึงการชำระหนี้คืนรวมไปถึงการสร้างความรำคาญ ซึ่งการที่ลูกหนี้โดนทวงหนี้บ่อยๆมีแนวโน้มที่จะทำให้ลูกหนี้อยากจะชำระหนี้ให้จบๆ

        3. อย่าไปกดดันลูกหนี้เกินความจำเป็น แม้ว่าจะทวงหนี้ลูกหนี้บ่อยๆแต่ก็ไม่ควรกดดันลูกหนี้เกินควร เพราะก็มีหลายกรณีๆที่ลูกหนี้โดนกดดันจากเจ้าหนี้มากเกินไป ย่อมส่งผลกระทบต่อการทำงานหาเงินมาชำระหนี้ ทำให้ยิ่งไม่สามารถมีเงินมาชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้ได้

        4. อย่าใช้อารมณ์หรือใช้คำพูดด่าลูกหนี้หยาบคายหรือรุนแรงจนเกินเหตุ เนื่องจากหากลูกหนี้มาถึงจุดที่ไม่สามารถจะคุยกับเจ้าหนี้ได้อีกต่อไป ลูกหนี้ก็อาจจะเลือกวิธีหนีหนี้ เช่น ปิดช่องทางการติดต่อทุกช่องทาง

       5. ยื่นข้อเสนอในการชำระหนี้ที่พอเป็นไปได้ให้แก่ลูกหนี้ เนื่องจากบางทีลูกหนี้เองก็ไม่สามารถคิดวิธีหรือแนวทางที่จะหารายได้มาชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้เองก็ควรผ่อนผันให้แก่ลูกหนี้บ้าง และช่วยคิดวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาการชำระหนี้ จำนวนหนี้ในการผ่อนชำระในแต่ละงวดที่ลูกหนี้พอจะชำระหนี้ได้ และแนวทางอื่นๆที่ช่วยให้ลูกหนี้มีรายได้มาชำระหนี้ได้

      6. หาคนกลางที่ลูกหนี้เชื่อถือมาช่วยเจรจาเป็นตัวกลางในการเจรจาหนี้

 
       ส่วนหากมาถึงจุดที่ทวงหนี้แล้วลูกหนี้ก็ยังไม่ชำระหนี้ ในลำดับต่อมาก็จำเป็นที่จะต้องพึ่งแนวทางของกฎหมาย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

        1. ให้ทนายความหรือสำนักงานกฎหมายทำหนังสือทวงถามส่งไปยังลูกหนี้ตามที่อยู่ตามภูมิลำเนา โดยหนังสือทวงถามนั้นเป็นการออกหนังสือโดยทนายความและเป็นการข่มขู่ที่ชอบด้วยกฎหมายว่า หากไม่ชำระหนี้จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้มีความเกรงกลัวว่าถ้าตนไม่ชำระหนี้ในคราวหนี้จะต้องถูกดำเนินคดีและต้องขึ้นศาล (ซึ่งสำนักงานทนายความของเรามีบริการทำหนังสือทวงถามและจัดส่งให้ มีค่าดำเนินเริ่มต้น 550 บาท)

       2. ให้ทนายความหรือทีมงานทางกฎหมายเป็นตัวกลางในการเจรจาหนี้ โดยนัดหมายลูกหนี้มาพบและพูดคุยกันในแนวทางการชำระหนี้

       3. สามารถให้ทีมกฎหมายหรือผู้ที่รับจ้างลงพื้นที่ติดตามหนี้ ลงพื้นที่ไปพบกับลูกหนี้ตามที่อยู่ปัจจุบัน เพื่อเร่งรัดหนี้สิน

      4. ฟ้องลูกหนี้ต่อศาลเพื่อดำเนินคดีแก่ลูกหนี้ โดยการฟ้องศาลนี้ในเรื่องหนี้นี้ส่วนใหญ่มักเป็นคดีแพ่ง ที่จะต้องว่าจ้างทนายความหรือสำนักงานทนายความในการดำเนินการฟ้องร้องลูกหนี้ให้ตามศาลที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาคดี ซึ่งสำนักงานทนายความของเรารับเป็นทนายความในการดำเนินคดีต่างๆ ซึ่งมีการฟ้องลูกหนี้มาแล้วหลากหลายกรณีนี้

       หากท่านต้องการจะดำเนินการในขั้นตอนใดหรือต้องการปรึกษากับทนายความโดยตรงสามารถติดต่อได้ที่ช่องทางการติดต่อด้านล่างนี้ได้เลยครับ สำนักงานทนายความของเราพร้อมและยินดีจะช่วยเหลือท่านอย่างเต็มที่และถึงที่สุด

 

 


ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

สำนักงานทนายความ สำนักงานกฎหมาย

แฟนเพจ FB : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น

 

 

 

 

 

    

      

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้