Last updated: 8 ก.ย. 2566 | 2077 จำนวนผู้เข้าชม |
พ่อให้ลูกใช้นามสกุล ถือเป็นการรับรองบุตรแล้วหรือไม่
กรณีที่พ่อและแม่ของลูกไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แล้วมีลูกร่วมกัน ซึ่งการที่พ่อยินยอมให้ลูกใช้นามสกุลถือว่าเป็นการรับรองบุตรตามกฎหมายแล้วหรือไม่ ซึ่งตามหลักของกฎหมายแล้วการที่จะถือว่ารับรองบุตรตามกฎหมาย จะต้องเป็นกรณีที่พ่อกับแม่จดทะเบียนสมรสกัน หรือมีการไปร้องขอต่อศาลขอรับรองบุตร หากศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาแล้วให้รับรองบุตรก็จะถือเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือในกรณีที่ลูกมีอายุเพียงพอที่จะให้ความยินยอมได้ ซึ่งประมาณ 7 ขวบขึ้นไป เมื่อลูกมีอายุครบดังกล่าวแล้ว และแม่ของลูกก็ยินยอมให้มีการรับรองบุตร ก็สามารถไปทำเรื่องขอรับรองบุตรที่สำนักงานเขตหรืออำเภอได้
ซึ่งการที่พ่อยินยอมให้ลูกใช้นามสกุลนั้น จึงยังไม่ใช่การรับรองบุตรตามกฎหมาย แต่การที่พ่อยิมยอมให้ลูกใช้นามสกุล หรือยินยอมให้ระบุชื่อของตนเองในใบสูติบัตร หรือยินยอมให้ลูกอยู่ในทะเบียนบ้านของพ่อ กรณีดังกล่าวนี้เป็นเพียงหลักฐานที่แสดงว่าเป็นพ่อที่แท้จริงเท่านั้น แต่ยังไม่ถือว่าเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งกรณีที่จะนำหลักฐานการให้ลูกใช้นามสกุล ยินยอมในระบุชื่อในสูติบัตร หรือยินยอมให้ลูกอยู่ในทะเบียนบ้าน ก็ใช้เป็นหลักฐานเมื่อมีการร้องขอต่อศาลเพื่อพิสูจน์การเป็นบิดาที่แท้จริง รวมไปถึงในกรณีที่พ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมที่จะให้มีการรับรองบุตรตามกฎหมายด้วย โดยศาลจะพิจารณาตามหลักฐานดังกล่าว หากศาลเห็นว่า มีหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นแล้วว่าเป็นบิดาที่แท้จริง ศาลก็จะมีคำสั่งให้รับรองบุตรตามกฎหมาย
เมื่อมีการรับรองบุตรเรียบร้อยแล้ว พ่อและแม่ของลูกก็จะมีอำนาจปกครองบุตรเท่ากัน และลูกก็จะมีสิทธิได้รับสวัสดิการใดๆก็ตามของบิดา รวมไปถึงลูกมีสิทธิที่จะได้รับมรดก โดยที่ไม่ต้องไปพิสูจน์ถึงการเป็นพ่อลูกกันในอนาคตอีก
หากคุณกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการขอรับรองบุตรต่อศาลอยู่ ซึ่งก็สามารถให้ทนายความของสำนักงานของเราไปดำเนินการให้แก่กรณีของคุณได้ โดยสำนักงานของเราพร้อมและยินดีที่จะช่วยเหลือคุณอย่างเต็มที่ โดยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ทางช่องทางการติดต่อด้านล่างนี้ได้เลยครับ
ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
แฟนเพจ FB : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น