15738 จำนวนผู้เข้าชม |
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส หมายถึง ทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกันหลังจากที่จดทะเบียนสมรส เช่น เงินเดือน เงินโบนัท เงินจากการร่วมกันประกอบอาชีพ บ้าน ที่ดิน รถยนต์ ได้มาหลังจดทะเบียนสมรสจะเป็นสินสมรสทั้งหมด
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ ระบุว่าเป็นสินสมรส หมายถึง ทรัพย์สินที่พ่อแม่ยกให้อีกฝ่ายโดยเสน่หา หรือทำพินัยกรรมยกให้ แต่ในทรัพย์สินที่ยกให้นั้น ต้องระบุโดยชัดเจนว่าพ่อแม่ยกให้เป็นสินสมรสของทั้งสองฝ่าย จึงจะเป็นสินสมรส แต่หากไม่ได้ระบุว่ายกให้เป็นสินสมรสของทั้งสองฝ่าย ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่าย
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว เช่น นาย เอ เป็นสามี ของนาง บี ก่อนจดทะเบียนสมรส มีบ้าน 1 หลัง บ้านหลังนั้นของนายเอ จะถือว่าเป็นสินส่วนตัว แต่ต่อมานาย เอ นำบ้านไปปล่อยเช่า ดังนั้น เงินค่าเช่าที่ได้ จะเป็นสินสมรส นาง บี มีสิทธิ์ในเงินค่าเช่า
ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่ง เป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส
เพราะฉะนั้นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรส จึงถือเป็นสินสมรสที่สามีภรรยาจะมีกรรมสิทธิ์ด้วยกันคนละครึ่งแม้ทรัพย์สินนั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้หามาแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม ยกเว้น ทรัพย์ที่ได้มาก่อนสมรส ทรัพย์ที่ได้มาจากการตกทอดทางมรดก หรือ ทรัพย์ที่บุคคลอื่นมอบให้โดยเสน่หา
ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วิน
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ปรึกษากฎหมายฟรี
ติดต่อ ทนายนิธิพล โทร 095-453-4145