14673 จำนวนผู้เข้าชม |
เมื่อลูกจ้างขับรถชนผู้อื่น ในเวลาทำงานหากเป็นฝ่ายผิด นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างต่อผู้เสียหายด้วย เนื่องจากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิช์ มาตรา 425 ได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่า นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
ตัวอย่างเช่น นายจ้าง ได้ให้ นาย ก. พนักงานขับรถขนส่งทุเรียน ไปส่งทุเรียนที่จังหวัด เชียงใหม่ ในระหว่างทางเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งนาย ก เป็นฝ่ายผิด จนทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส ดังนั้น เมื่อนาย ก. เป็นฝ่ายกระทำละเมิด นายจ้างจะต้องรับผิดในทางการที่จ้างในผลแห่งละเมิดด้วย ผู้ได้รับบาดเจ็บ จึงสามารถเอาผิดกับ นายจ้าง และ นาย ก. ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้
หรือ ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา 1653/2523
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 วันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ได้ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปเดินสายไฟฟ้าในวัดแห่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 เดินสายไฟฟ้าเสร็จแล้วไม่กลับทันที ได้ขับรถออกนอกเส้นทางไปดื่มสุรากับเพื่อนจนเมา แล้วจึงขับรถกลับระหว่างทางขับรถประมาทชนร้านค้าของ บ. ทำให้เครื่องเล่นตู้เพลงของโจทก์เสียหายด้วยดังนี้ยังถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จำเลยที่ 2 จ้าง จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น
ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วิน
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ปรึกษากฎหมายฟรี
ติดต่อ ทนายนิธิพล โทร 095-453-4145