กรณีที่ผู้เช่าซื้อไม่นำรถมาคืนไฟแนนซ์แล้วมีการฟ้องร้องคดีต่อศาล

442770 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กรณีที่ผู้เช่าซื้อไม่นำรถมาคืนไฟแนนซ์แล้วมีการฟ้องร้องคดีต่อศาล

                   ทำอย่างไรเมื่อถูกฟ้องร้องคดีเซ่าซื้อรถ

ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อรถค้างค่างวด 3 งวดติดกัน และถูกบอกเลิกสัญญาแล้ว ในเบื่องต้นยังมีสิทธิที่จะเจรจาและขอจ่ายงวดที่ยังค้างอยู่ได้ เพื่อกลับมาสู่สถานะปกติ เพื่อผ่อนรถต่อได้ แต่หากไม่มีเงินไปชำระงวดที่ค้างหรือไฟแนนซ์ไม่ยินยอมให้ชำระ ไฟแนนซ์สามารถดำเนินการกับผู้เช่าซื้อได้   แบ่งเป็น 2 กรณี 1.ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อไม่นำรถมาคืนไฟแนนซ์ 2.กรณีโดนยึดรถขายทอดตลาด

             ในส่วนของกรณีที่ 1  กรณีที่ผู้เช่าซื้อไม่นำรถมาคืนไฟแนนซ์แล้วมีการฟ้องร้องคดีต่อศาล ไฟแนนซ์สามารถฟ้องร้องได้ทั้งทางแพ่งและอาญา

              หากไฟแนนซ์ฟ้องเป็นคดีแพ่ง การที่มีหมายศาลไปยังผู้เช่าซื้อ ให้ไปไกล่เกลี่ยในศาลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องไปตามวันเวลา ที่ศาลระบุไว้ในคำฟ้อง เนื่องจากนัดแรกผู้เช่าซื้อยังมีโอกาศที่จะยังขอเจรจากับทางไฟแนนซ์ขอผ่อนชำระได้ หากไฟแนนซ์ยินยอม และหากยอดเงินที่ไฟแนนซ์ฟ้องร้องต่อศาลสูงเกินไปผู้เช่าซื้อก็สามารถต่อสู้คดีให้ศาลลดหนี้ให้ได้

              การที่ไม่ได้รับหมายศาลใดๆทั้งสิ้น และต่อมาได้มีหนังสือให้นำเงินไปชำระหนี้และมีคำบังคับจากศาลพิพากษาให้นำรถไปคืนหรือใช้ชำระราคารถเต็มจำนวน ผู้เช่าซื้อก็ควรยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งพิจารณาคดีใหม่  เนื่องจากไม่ได้รับหมายศาล เพื่อให้มีเวลาในการเจรจาและกลับคืนสู่ฐานะเดิม 

              การที่ได้รับหมายศาล แต่ไม่ได้ไปตามที่ศาลนัด ถือว่าเป็นผลเสีย นอกจากจะทำให้การพิจารณาคดีของศาลเป็นไปอย่างรวดเร็วแล้ว ยังเสียสิทธิขอเจรจาได้หากคุณพอที่จะจ่ายเงินแบบผ่อนได้  หรือการที่ไฟแนนซ์เรียกราคารถสูงกว่าความเป็นจริงและศาลจะพิพากษาตามที่ไฟแนนซ์ร้องขอต่อศาล โดยที่ผู้เช่าซื้อไม่มีสิทธิคัดค้าน 

              ส่วนหากไฟแนนซ์มีการฟ้องคดีอาญา ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ โดยไฟแนนซ์ต้องแจ้งความหรือฟ้องร้องคดีภายใน 3 เดือน หากมีรถคืนควรรีบคืนทันทีเพื่อให้ไฟแนนซ์ถอนแจ้งความ  แต่หากเป็นกรณีที่ไฟแนนซ์ได้มีการติดตามยึดรถกับผู้เช่าซื้อ และผู้เช่าซื้อไม่มีรถไปคืน ก็เสี่ยงที่จะโดนโทษทางอาญา ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทางแก้คือติดตามหารถให้เจอเพื่อชี้พิกัดให้ไฟแนนซ์มายึดรถ หรือหากไม่สามารถตามรถได้ ผู้เช่าซื้อควรรีบไปติดต่อเจรจาเพื่อขอผ่อนจ่าย ถ้าสามารถตกลงกันได้ ก็สามารถขอศาลให้จำหน่ายคดีออกไปชั่วคราวก่อนได้ ถอนฟ้องคดียักยอกทรัพย์

                   กรณีที่ 2 กรณีนี้ที่ให้ไฟแนนซ์ยึดรถไปแล้ว (ผิดนัดครบ 3 งวดและมีหนังสือบอกเลิกสัญญามาแล้ว)
              หากรถของท่านกำลังจะถูกขายทอดตลาด จะมีค่าส่วนต่างตามมา ค่าส่วนต่างก็คือ จะนำราคารถเต็มมาลบกับเงินที่มีคนประมูลซื้อไปได้ เมื่อมีส่วนต่างไฟแนนซ์ก็จะมาเรียกร้องกับคุณเพิ่ม แต่ก่อนจะมีการประมูลขายไฟแนนซ์จะมีการส่งเอกสารมาแจ้งเกี่ยวกับการขายทอดตลาด หากไม่ส่งมาก็เป็นประเด็นที่จะไปสู้ในศาลเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าส่วนต่างได้ หากไฟแนนซ์แจ้งให้คุณชำระค่าส่วนต่างมาแล้ว คุณไม่ชำระไฟแนนซ์ก็มีสิทธิที่จะไปฟ้องศาล เมื่ฮศาลมีคำพิพากษาแล้ว ก็สามารถบังคับยึดทรัพย์อื่นๆของคุณต่อได้ หรืออายัดเงินเดือน เงินในบัญชีและอื่นๆ
 
              วิธีแก้กรณีนี้สามารถติดต่อไฟแนนซ์ไปขอลดหนี้ลงและขอผ่อนจ่ายได้ ถ้าสามารถตกลงกันได้ทั้งสองฝ่ายก็ทำบันทึกข้อตกลง และชำระค่าส่วนต่างไปตามที่มีการตกลงกัน
              
              ทั้งนั้นการที่คุณผิดสัญญาแล้วจะขึ้นประวัติในส่วนของเครดิตบูโร่ทำให้มีท่านในการพิจารณาการอนุมัติสินเชื่อต่างๆในอนาคตของสถาบันทางการเงิน ดังนั้นก่อนซื้อรถยนต์ควรบริหารการจ่ายค่างวดเป็นอย่างดีเสียก่อน
              แต่หากคุณไม่ได้ค้างค่างวดครบ 3 งวด แล้วไฟแนนซ์มายึดรถไป หรือตอนจะขายทอดตลาดไฟแนนซ์ไม่ได้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการขายทอดตลาดมา ก็เป็นประเด็นที่จะสู้คดีได้ หรือต้องการทราบขั้นตอนการคืนรถแบบไม่เสียค่าส่วนต่างที่มีโอกาสสูงมากๆที่จะไม่ต้องชดใช้ค่าส่วนต่างจากทนายนิธิพล ทนายก็มีวิธีการที่ไม่ได้เปิดเผยโดยทั่วไป หากต้องการให้สำนักงานทนายนิธิพล เป็นผู้ดูแลคดีของคุณ สามารถนัดปรึกษากับทนายแบบละเอียดก่อนได้ โดยทนายจะพิจารณาจากความยากง่ายของคดีเป็นหลัก และเมื่อทราบข้อเท็จจริงทั้งหมดกับหลักฐานทั้งหมดจึงจะประเมินค่าดำเนินการที่ชัดเจนได้ โดยแอดไลน์เบอร์ 095-453-4145 เพื่อขอนัดคิวสำหรับการทำเรื่องฟ้องต่อศาล สำนักงานทนายนิธิพลมีทีมงานที่พร้อมดูแลพร้อมให้คำปรึกษา เพื่อดูแลผลประโยชน์ของคุณให้ได้มากที่สุด

              การกำหนดค่าว่าจ้างของทนายไม่ใช่เรื่องง่าย ขึ้นอยู่ความยากง่ายของคดี ต้องเอารายละเอียดทั้งหมดพร้อมหลักฐานมานัดคุยรายละเอียดก่อน ถึงจะกำหนดค่าดำเนินการทั้งหมดที่ชัดเจนได้ ความยากง่ายของคดีมีอะไรบ้าง 1.ข้อเท็จจริงของคดีมีเยอะแค่ไหน 2.เป็นเรื่องกฎหมายทั่วๆไปหรือไม่ 3.มีความซับซ้อนมากน้อยแค่ไหน 4.พยานหลักฐานทั้งพยานเอกสารและพยานบุคคลมีมากน้อยแค่ไหน 5.กรอบระยะเวลาในการทำงานมากน้อยแค่ไหน 5.คู่กรณีหรือทนายฝ่ายตรงข้ามมีความรู้ความเชียวชาญทางด้านกฎหมายมากน้อยแค่ไหน 6.ความเสี่ยงที่ทนายจะต้องได้รับมีหรือไม่ เป็นต้น หากทนายกำหนดค่าทนายโดยยังไม่รู้รายละเอียดทั้งหมด จะทำให้ทนายคิดค่าทนายที่ไม่เหมาะสมได้ โดยอาจคิดสูงเกินไปหรือต่ำเกินไปจนทนายไม่คุ้มที่จะทำงาน อีกทั้งยังต้องดูอุปนิสัยของผู้ว่าจ้างด้วยว่าเป็นคนอุปนิสัยเป็นอย่างไร สามารถทำงานร่วมกันได้หรือไม่
 
 
 
 
ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วิน
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร 
ติดต่อ เพจทนายนิธิพล หรือ โทร 095-453-4145

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้