พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2561

3861 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2561

                                                                         พระราชบัญญัติ
                                                                      ล้มละลาย (ฉบับที่ ๑๐)
                                                                            พ.ศ. ๒๕๖๑

                                                   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
                                                             ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
                                                                   เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัจจุบัน

                     สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจ ากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ และมาตรา ๓๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระท าได้โดยอาศัยอ านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

                      เหตุผลและความจ าเป็นในการจ ากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อให้การคุ้มครองเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติท าหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี

 

                       มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ๑๐)พ.ศ. ๒๕๖๑”

                       มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

                       มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามค าว่า “เจ้าหนี้มีประกัน” ในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                    “ “เจ้าหนี้มีประกัน” หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนองจำนำ หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำรวมถึงเจ้าหนี้ที่กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกัน”

                       มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช ๒๔๘๓
                      “เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอ ศาลมีอำนาจส่งเงินประกันค่าใช้จ่ายคงเหลือภายหลังหักค่าใช้จ่ายให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในคดีล้มละลายนั้น”

                       มาตรา ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช ๒๔๘๓

                      “มาตรา ๒๔/๑ บุคคลผู้เป็นหนี้ลูกหนี้หรือมีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในครอบครองซึ่งได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้หรือทรัพย์สินของลูกหนี้ มีหน้าที่ต้องแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์”

                       มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช ๒๔๘๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

                      “มาตรา ๔๒ เมื่อได้มีการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเสร็จแล้ว ให้ศาลไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยเป็นการด่วน เพื่อทราบกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ เหตุผลที่ท าให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตลอดจนความประพฤติของลูกหนี้ว่าได้กระทำหรือละเว้นกระทำการใดซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นเกี่ยวกับการล้มละลาย หรือเป็นข้อบกพร่องอันจะเป็นเหตุให้ศาลไม่ยอมปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไข เว้นแต่ศาลเห็นว่าการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยยังไม่มีความจำเป็นศาลจะพิจารณางดการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยไว้ก่อนก็ได้”
 

                       มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                     

                      “มาตรา ๖๓ เมื่อศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว ลูกหนี้จะเสนอค าขอประนอมหนี้ก็ได้ในกรณีนี้ให้นำบทบัญญัติของส่วนที่ ๖ การประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ในหมวด ๑ กระบวนพิจารณาตั้งแต่ขอให้ล้มละลายจนถึงปลดจากล้มละลาย มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าลูกหนี้ได้เคยขอประนอมหนี้ไม่เป็นผลมาแล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้ขอประนอมหนี้ภายในกำหนดเวลาหกเดือนนับแต่วันที่การขอประนอมหนี้ครั้งสุดท้ายไม่เป็นผล
                      การขอประนอมหนี้ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องเลื่อนหรือ
งดการจำหน่ายทรัพย์สิน เว้นแต่กรณีมีเหตุอันสมควรที่อาจเป็นประโยชน์แก่การขอประนอมหนี้ถ้าศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ ศาลมีอำนาจสั่งให้ยกเลิกการล้มละลาย และจะสั่งให้ลูกหนี้กลับมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนหรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้”

 

                      มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๐/๓ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช
๒๔๘๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                   “มาตรา ๙๐/๓ เมื่อลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่สามารถที่จะชำระหนี้ตามกำหนดได้ และเป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันเป็นจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท ไม่ว่าหนี้นั้น
จะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม ถ้ามีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ บุคคลตามมาตรา ๙๐/๔ อาจยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีการฟื้นฟูกิจการได้”

                      มาตรา ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๓) ของมาตรา ๙๐/๕ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช ๒๔๘๓
         

                      “(๓) ศาลได้เคยมีคำสั่งยกคำร้องขอ ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือยกเลิกการฟื้นฟู
กิจการของลูกหนี้ ตามความในหมวดนี้ ภายในระยะเวลาหกเดือนก่อนยื่นคำร้องขอ”

                       มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของวรรคหนึ่งในมาตรา ๙๐/๖ แห่งพระราชบัญญัติ
ล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                      “(๑) ความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้หรือไม่สามารถที่จะชำระหนี้ตามกำหนดได้”

                       มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความใน (๖) ของวรรคหนึ่งในมาตรา ๙๐/๑๒ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๒๑/๒๕๖๐ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ
ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

                       “(๖) ห้ามมิให้เจ้าหนี้มีประกันบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลที่รับค าร้องขอ หรือเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอ
ระยะเวลาดังกล่าวศาลอาจขยายได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินหกเดือน”

 

                       มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๐/๑๔ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๒๑/๒๕๖๐เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ ๔ เมษายนพุทธศักราช ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

                      “มาตรา ๙๐/๑๔ ทวิ ในกรณีทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันมีสภาพเป็นของสดเสียง่าย หรือ
หากหน่วงช้าไว้จะเป็นการเสี่ยงต่อความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาจะเกินส่วนกับค่าของทรัพย์สิน
เจ้าหนี้มีประกันอาจใช้สิทธิจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจหรือ
กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องแล้วเก็บเงินไว้แทน”

   

                      มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๐/๔๖ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๑/๒๕๖๐เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ ๔ เมษายนพุทธศักราช ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                     “มาตรา ๙๐/๔๖ มติยอมรับแผนต้องเป็นไปดังนี้
                     (๑) ที่ประชุมเจ้าหนี้แต่ละกลุ่มทุกกลุ่ม ซึ่งมิใช่กลุ่มเจ้าหนี้ตามมาตรา ๙๐/๔๖ ทวิมีมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมากและมีจำนวนหนี้ไม่น้อยกว่าสองในสามแห่งจำนวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น หรือ
                      (๒) ที่ประชุมเจ้าหนี้อย่างน้อยหนึ่งกลุ่ม ซึ่งมิใช่กลุ่มเจ้าหนี้ตามมาตรา

ในกลุ่มนั้นซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้และได้ออก
เสียงลงคะแนนในมตินั้น และเมื่อนับรวมจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ที่ยอมรับแผนในที่ประชุมเจ้าหนี้ทุกกลุ่มแล้ว
มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบแห่งจ านวนหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะ
ให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น
                    ในการนับจำนวนหนี้ให้ถือว่าเจ้าหนี้ตามมาตรา ๙๐/๔๖ ทวิ ได้มาประชุมและได้ออกเสียง
ลงคะแนนในมติยอมรับแผนนั้นด้วย”

         

                      มาตรา ๑๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๙๐/๖๒ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
พุทธศักราช ๒๔๘๓

                      “มาตรา ๙๐/๖๒ ทวิ กรณีศาลมีค าสั่งยกเลิกค าสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หนี้ตามมาตรา ๙๐/๖๒ (๑)ที่เกิดขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ด าเนินต่อไปได้ในระหว่างการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้โดยสุจริตย่อมมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้โดยให้อยู่ในล าดับเดียวกับบุริมสิทธิล าดับที่ ๑
ตามมาตรา ๒๕๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์”

 

                      มาตรา ๑๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา ๑๑๓ แห่งพระราชบัญญัติ
ล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓
   

                       “การขอให้เพิกถอนตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ขอเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่เวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือพ้นสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น”

 

                      มาตรา ๑๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๓๙/๑ ของส่วนที่ ๑ การแต่งตั้งและ
ถอดถอน ในหมวด ๕ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓
 

                      “มาตรา ๑๓๙/๑ ให้กรมบังคับคดีจัดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ารับการฝึกอบรม
ก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้มีการพัฒนาความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม และประสบการณ์
ในการปฏิบัติงาน รวมถึงการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะและความเชี่ยวชาญ ตามหลักสูตรการฝึกอบรม
ที่อธิบดีกรมบังคับคดีก าหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี
                     เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งผ่านการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งให้เป็นตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ
ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และในการก าหนดให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่ง
ที่มีเหตุพิเศษ ให้คำนึงถึงภาระหน้าที่ คุณภาพของงาน โดยเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานอื่น
ในกระบวนการยุติธรรมด้วย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมโดยได้รับความเห็นชอบ
จากกระทรวงการคลัง”

 

                      มาตรา ๑๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๑/๒๕๖๐

เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออ านวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ ๔ เมษายน
พุทธศักราช ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               

                    “มาตรา ๑๔๘/๑ ในกรณีที่บทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
โฆษณาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล หรือประกาศหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ในหนังสือพิมพ์รายวัน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจโฆษณาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์สาธารณะอื่นใดแทน
ตามที่อธิบดีกรมบังคับคดีประกาศก าหนดก็ได้”

 

                       มาตรา ๑๘ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๑๗๓ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยค าสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๑/๒๕๖๐
เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออ านวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ ๔ เมษายน
พุทธศักราช ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

                       “เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในราชกิจจานุเบกษา และหนังสือพิมพ์รายวันหรือผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์สาธารณะ
อื่นใดแทนตามที่อธิบดีกรมบังคับคดีประกาศก าหนดแล้ว บุคคลทุกคนได้ทราบว่ามีค าสั่งนั้น”

                 

                       มาตรา ๑๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๗๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
พุทธศักราช ๒๔๘๓
                       “มาตรา ๑๗๓/๑ ผู้ใดมีหน้าที่ตามมาตรา ๒๔/๑ แล้วไม่ปฏิบัติตามมาตราดังกล่าว
มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท
                        ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบใน
การดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและ
ละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระท าการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่
บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย

                         ถ้าบุคคลตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้ยื่นค าขอต่อศาลแสดงถึงเหตุที่ตนไม่อาจแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้หรือทรัพย์สินได้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๒๔/๑ เมื่อศาลเห็นว่ามีเหตุอันสมควร
จะให้บุคคลนั้นแจ้งข้อมูลดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบภายในเวลาที่ศาลก าหนดก็ได้
เมื่อบุคคลดังกล่าวได้แจ้งข้อมูลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว
ให้คดีอาญาเป็นอันเลิกกัน”

 

                           มาตรา ๒๐ บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และ
ยังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้บังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จนกว่าคดีจะถึงที่สุด

 

                             มาตรา ๒๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

                                                                        ผู้รับสนองพระราชโองการ
                                                                     พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
                                                                              นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับ
การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามหมวด ๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ มีบทบัญญัติที่ทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถ
ขอฟื้นฟูกิจการได้ทันต่อสถานะทางด้านการเงินของลูกหนี้ เนื่องจากลูกหนี้ต้องเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่านั้น
จึงจะขอฟื้นฟูกิจการได้ นอกจากนั้น การติดตาม การจัดการ และการรวบรวมทรัพย์สินของเจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร สมควรก าหนดให้ลูกหนี้มีโอกาสฟื้นฟูกิจการได้เร็วขึ้น และ
ให้มีกลไกในการติดตาม จัดการ และรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการคุ้มครอง
เจ้าหนี้มีประกันอย่างเพียงพอ อันเป็นการส่งเสริมและรองรับความสะดวกในการประกอบธุรกิจและเพิ่มขีด
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงจ าเป็นต้องตราพระราชบัญญัติน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้