แชร์ลูกโซ่ VS ธุรกิจขายตรง แตกต่างกันอย่างไร

Last updated: 21 ต.ค. 2567  |  28 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แชร์ลูกโซ่ VS ธุรกิจขายตรง แตกต่างกันอย่างไร

           แชร์ลูกโซ่ VS ขายตรง แตกต่างกันอย่างไร

           กรณีของแชร์ลูกโซ่นั้น

           1. จะมีค่าสมัครที่สูงที่เน้นเป็นการระดมทุน ไม่ว่าจะเป็นค่าสมัครในการเป็นสมาชิกหรือการเปิดบิลของสินค้า

           2. เน้นการกักตุนสินค้าเป็นหลัก โดยหลอกให้ซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ และจูงใจว่าสินค้าสามารถขายได้

            3. สินค้าไม่มีคุณภาพ ไม่รับประกันสินค้าและไม่รับคืนสินค้า โดยแชร์ลูกโซ่นั้นจะมีทั้งกรณีที่สินค้ามีคุณภาพและไม่คุณภาพ แต่การไม่รับประกันสินค้าในกรณีที่ไม่สามารถขายสินค้าได้และไม่รับคืนสินค้านั้นจะเป็นส่วนสำคัญ

             4. รายได้หลักมาจากการระดมทุนหรือใช้เงินซื้อตำแหน่ง โดยมักจะจูงใจให้จ่ายเงินในจำนวนมากๆ และหลอกล่อด้วยผลตอบแทน ยิ่งซื้อสินค้ามากๆหรือจ่ายเงินมากๆ จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งและผลตอบแทนก็จะยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ

             5. เป็นธุรกิจระยะสั้น บริษัทไม่มีความมั่นคง เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง เมื่อไม่สามารถขายสินค้าได้ หรือเงินใหม่มาจ่ายคนเก่าเริ่มไม่เพียงพอ ก็จะเกิดผู้เสียหายขึ้น ผู้เสียหายก็จะมีการร้องเรียน ฟ้องร้อง แจ้งความ โดยธุรกิจแชร์ลูกโซ่มักมีอายุไม่ยืนยาว เมื่อถึงรอบที่ความเสียหายเกิดขึ้นมาก ธุรกิจก็ต้องยุติลง

 
           ต่อมาเรามาดูในส่วนของธุรกิจขายตรงกันบ้าง

           1. ค่าสมัครเหมาะสมและอาจมีเอกสารหรือสินค้าตัวอย่าง โดยธุรกิจขายตรงนั้นก็จะมีการสมัครสมาชิกเช่นเดียวกัน แต่ค่าสมัครจะไม่สูงมากนัก เมื่อเป็นสมัครชิกแล้วก็จะมีสิทธิได้รับส่วนลดจากการซื้อสินค้า และก็จะมีศูนย์ที่สามารถไปซื้อสินค้าได้ หรือที่เรียกว่าโชว์รูมสินค้า

           2. มีการรับประกันสินค้าและรับซื้อคืนเมื่อนักขายตรงต้องการลาออก โดยในส่วนนี้จะเป็นข้อกำหนดในธุรกิจขายตรงที่จะรับประกันสินค้าและรับซื้อคืน ในกรณีที่ตัวแทนขายไม่ต้องการจะขายสินค้าอีกต่อไป

           3. ไม่มีนโยบาบกักตุนสินค้า โดยตัวแทนสามารถมาซื้อสินค้าเมื่อไหร่ก็ได้ จำนวนเท่าใดก็ได้ โดยสั่งซื้อหรือเข้ามาซื้อที่ศูนย์จำหน่ายสินค้าของบริษัท แต่ส่วนตัวแทนจะเลือกกักตุนเองหรือไม่ ก็เป็นส่วนในการตัดสินใจของตัวแทนแต่ละคน

           4. แผนการจ่ายผลตอบแทนเป็นไปได้จริง โดยผลตอบแทนนั้นจะต้องไม่มีลักษณะสูงเกินสมควรหรือมักจะไม่สูงกว่าดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินคิด หากแผนมีการระบุว่าจะจ่ายผลตอบสูงโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ก็จะเข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ทันที

           5. รายได้หลักต้องมาจากการขายสินค้า รายได้ของธุรกิจขายตรงรวมถึงผลตอบแทนของตัวแทนต้องเกิดขึ้นจากยอดเงินจากการขายสินค้า หากเป็นผลตอบแทนจากการชักชวนคนอื่นให้มาลงทุน ก็จะไม่ใช่ธุรกิจขายตรง แต่เป็นแชร์ลูกโซ่

          ดังที่กล่าวมานั้นเป็นข้อแตกต่างระหว่างแชร์ลูกโซ่กับธุรกิจขายตรง ควรสังเหตุว่าธุรกิจที่คุณสนใจหรือกำลังจะเข้าไปเป็นตัวแทนนั้น เป็นธุรกิจแบบใด เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่หรือไม่ หากเข้าข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ควรหลีกเลี่ยงทันที ก่อนที่คุณจะสูญเสียเงิน ไม่ว่าผลตอบแทนที่ถูกจูงใจนั้นจะดีและแผนธุรกิจจะทำให้คุณเชื่อมั่นแค่ไหนก็ตาม

 

 


ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

สำนักงานทนายความ สำนักงานกฎหมาย

แฟนเพจ FB : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้