ผัวเมียตีกัน ทางกฎหมายทำอะไรได้บ้าง

501 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผัวเมียตีกัน ทางกฎหมายทำอะไรได้บ้าง

           ผัวเมียตีกัน ทางกฎหมายทำอะไรได้บ้าง

           ในสังคมปัญหาผัวเมียตีกัน มีให้เห็นกันอยู่อย่างต่อเนื่อง บางกรณีก็จบกันด้วยการพูดคุยและให้อภัยกัน แต่หลายกรณีก็จบด้วยการดำเนินคดีซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นการที่ผัวเมียตีกันทั้งสองฝ่าย ผัวทำร้ายร่างกาย สามีทำร้ายร่างกาย ) เมียทำร้ายร่างกาย ภรรยาทำร้ายร่างกาย )  โดยบทความนี้จะมากล่าวถึงในทางกฎหมายว่าเมื่อมีการทำร้ายร่างกายกันเกิดขึ้นผลทางกฎหมายและการดำเนินคดีจะเป็นอย่างไรบ้าง

           โดยกรณีที่ผัวเมียต่างฝ่ายต่างทำร้ายร่างกายกันในช่วงเวลาเดียวกัน ในส่วนนี้ต่างฝ่ายต่างผิดข้อหาทะเลาะวิวาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 372 ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถาน หรือกระทำโดยประการอื่นใดให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท โดยการทะเลาะวิวาทนั้นจะถือว่าผิดทั้งสองฝ่าย และทั้งผัวเมียก็ต้องเสียค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนเป็นผู้กำหนด

            ส่วนหากเป็นกรณีที่ถูกทำร้ายฝ่ายเดียว โดยกรณีนี้จะแยกเป็นสองกรณี ได้แก่ กรณีที่จดทะเบียนสมรส และไม่ได้จดทะเบียนสมรส

           ซึ่งกรณีที่การถูกทำร้ายฝ่ายเดียว กรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ผู้ที่ถูกทำร้ายสามารถไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวนในพื้นที่ได้ และผู้ทำร้ายจะมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ซึ่งข้อหาทำร้ายร่างกายก็มีการกำหนดโทษที่แตกต่างกันตามความร้ายแรงของการกระทำ ดังต่อไปนี้

            มาตรา 391 ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

            มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย อัตราโทษ : โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

            มาตรา 297  ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

            อันตรายสาหัสนั้น คือ

              (1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท

              (2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์

              (3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด

              (4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว

              (5) แท้งลูก

              (6) จิตพิการอย่างติดตัว

              (7) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต

              (8) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน

              ส่วนในกรณีที่ผัวเมียได้จดทะเบียนสมรสกัน ก็ถือว่าเป็นความผิดข้อหาทำร้ายร่างกายเช่นเดียวกัน แต่โดยสถานะการเป็นผัวเมียกันนั้น จะทำให้เป็นคดีที่สามารถยอมความกันได้ ซึ่งจะแตกต่างจากกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสที่ไม่สามารถยอมความกันได้ และผู้ที่ทำร้ายจะได้รับโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          ทั้งนี้การทำถูกทำร้ายร่างกายสามารถใช้เหตุดังกล่าวดำเนินการฟ้องหย่าคู่สมรสฝ่ายที่ทำร้ายร่างกายได้อีกด้วย โดยให้ทนายความดำเนินการทำเรื่องฟ้องหย่าต่อศาลเยาวชนและครอบครัว รวมถึงสามารถให้ทนายความดำเนินคดีอาญาข้อหาทำร้ายร่างกายโดยฟ้องต่อศาลโดยตรงได้อีกด้วย หากตำรวจมีความล่าช้าหรือคดีไม่คืบหน้า 

 

 

 

 


ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ

แฟนเพจ FB : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้