Last updated: 27 ต.ค. 2566 | 4109 จำนวนผู้เข้าชม |
ขั้นตอนการหย่าต่างอำเภอ หย่าต่างสำนัก
กรณีที่ภรรยาและสามีมีความประสงค์จะหย่าขาดจากกัน โดยการหย่านั้นต้องเกิดขึ้นจากความสมัครใจทั้งสองฝ่าย แต่ติดปัญหาตรงที่ว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย ไม่สามารถที่จะเดินทางมาหย่าที่เขตหรืออำเภอที่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เหมือนดังเช่นกรณีการหย่าแบบปกติ หรือไม่ต้องการที่พบเจอกันอีก ซึ่งปัจจุบันก็คู่สามีภรรยาก็สามารถขอทำเรื่องหย่าต่างอำเภอ หย่าต่างสำนักได้ โดยก่อนที่จะดำเนินการหย่ากันนั้น ควรจะต้องตกลงกันในเรื่องทรัพย์สิน ซึ่งเป็นสินสมรส และเรื่องอำนาจปกครองบุตร และค่าเลี้ยงดูบุตรให้เรียบร้อยก่อน และจะต้องทำเป็นสัญญาการหย่าขึ้นมา ลงลายมือชื่อกันให้เรียบร้อยทั้งสองฝ่าย พร้อมกันมีพยานบุคคล จำนวน 2 คน ลงลายมือชื่อในสัญญาหย่าไว้ด้วย โดยอาจใช้วิธีการส่งแบบไปรษณย์และให้ลงลายมือชื่อกันทีละคนในสัญญาหย่า พร้อมทั้งต้องตกลงกันให้เรียบร้อยก่อนว่า คู่สมรสฝ่ายใดจะเป็นคนยื่นเรื่องก่อนและหลัง และยื่นที่สำนักงานต้นทางและปลายทางที่ไหน
เมื่อได้ทำข้อตกลงตามที่กล่าวมาแล้วนั้น ก็ให้คู่สมรสที่จะเป็นผู้ยื่นเรื่องขอหย่าก่อนไปติดต่อสำนักทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอ สำนักงานเขต หรือสถานทูต สถานกงสุล ที่ตกลงกันไว้ ซึ่งในการยื่นนั้นคู่สมรสที่ยื่นเรื่องก่อนจะต้องยื่นหลักฐานดังนี้ 1.บัตรประชาชน 2.สำเนาทะเบียนบ้าน 3.ใบสำคัญการสมรส 4.หนังสือสัญญาการหย่า ต่อนายทะเบียน พร้อมทั้งแจ้งความประสงค์ต่อนายทะเบียนว่าต้องการจะหย่าต่างอำเภอหรือหย่าต่างสำนัก พร้อมกับแจ้งเขตพื้นที่ที่คู่สมรสอีกฝ่ายจะไปติดต่อกับสำนักงานทะเบียนปลายทางด้วย ซึ่งนายทะเบียนที่สำนักงานทะเบียนต้นทางก็จะติดต่อประสานงานไปยังสำนักงานทะเบียนปลายทาง ซึ่งคู่สมรสของสำนักงานทะเบียนปลายทางก็จะต้องคอยสอบถามติดตามเอกสารเป็นระยะๆด้วยว่าเอกสารมาถึงสำนักงานทะเบียนปลายทางแล้วหรือยัง เมื่อเอกสารมาถึงแล้วก็ไปดำเนินการลงลายมือชื่อในสำนักงานทะเบียนปลายทาง เมื่อลงลายมือชื่อเรียบร้อย นายทะเบียนก็จะออกใบสำคัญการหย่าให้เลย ส่วนอีกใบก็จะส่งกลับไปยังสำนักงานต้นทางเพื่อส่งให้แก่คู่สมรสที่ทำเรื่องก่อนอีกที
ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
แฟนเพจ FB : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น