Last updated: 14 ต.ค. 2566 | 5195 จำนวนผู้เข้าชม |
การสู้คดีขาดอายุความ
การฟ้องคดีหรือดำเนินคดีเกือบทุกประเภทจะมีอายุความที่กฎหมายกำหนดให้ผู้เสียหายหรือผู้ฟ้องดำเนินต้องดำเนินคดีภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งนับจากวันที่เกิดเหตุ วันที่รู้ถึงการกระทำความผิด นับแต่วันที่ชำระเงินครั้งสุดท้าย หรือวันที่ผู้ฟ้องคดีจะมีสิทธิเรียกร้อง เช่นคดีบัตรเครดิต จะมีอายุความ 2 ปี อายุความหนี้กู้ยืมเงิน อายุความคดีสินเชื่อที่กำหนดผ่อนเท่าๆกัน อายุความ 5 ปี อายุความ 10 ปี อายุความบัตรกดเงินสด อายุความ 10 ปี คดีหมิ่นประมาท ต้องแจ้งความหรือฟ้องภายใน 3 เดือน เป็นต้น
ซึ่งการสู้คดีเรื่องอายุความนั้น เมื่อมีผู้ฟ้องคดีหรือที่เรียกว่า “โจทก์” ฟ้องคดีมา ก็จะมีหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องส่งมาให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดี หรือที่เรียกว่า “จำเลย” ซึ่งในเบื้องต้นก็ต้องตรวจสอบก่อนว่าโจทก์ฟ้องคดีมาในเรื่องอะไร และมีประเด็นข้อพิพาทกันอย่างไร เช่น โจทก์ฟ้องคดีมาในเรื่องบัตรเครดิต ก็ต้องไปตรวจสอบก่อนว่าเรื่องบัตรเครดิตนี้มีอายุความเท่าไหร่ โดยจะศึกษาจากทางอินเตอรเน็ตหรือจะสอบถามจากผู้รู้ด้านกฎหมาย อย่างเช่น ทนายความ และมาดูว่า วันที่เริ่มนับอายุความคือวันไหน อย่างกรณีบัตรเครดิต ก็จะเริ่มนับจากวันที่ชำระครั้งสุดท้ายหรือวันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ และดูวันที่โจทก์ฟ้องมาว่าคือวันที่เท่าไหร่ หากดูแล้วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด คือ 2 ปี แบบนี้ก็ควรที่จะทำเรื่องสู้คดีต่อศาล
การจะสู้คดีนั้น เมื่อมีหมายศาลมาหากจำเลยต้องการจะสู้คดีก็จำเป็นที่จะต้องยื่นคำให้การต่อศาล เพื่อโต้แย้งคำฟ้องของโจทก์ก่อน เพื่อให้เกิดเป็นประเด็นขึ้นมาว่า คดีขาดอายุความแล้วหรือไม่ หากไม่ยื่นคำให้การ ศาลก็จะพิพากษาไปตามที่โจทก์ฟ้องมา และจะไม่มีประเด็นเรื่องอายุความที่ศาลจะต้องพิจารณาแต่อย่างใด ซึ่งระยะเวลาในการยื่นคำให้การก็จะมี 2 แบบ คือคดีผู้บริโภค หรือ ผบ. คดีมโนสาเร่ คดีอาญา จะสามารถยื่นคำให้การได้ในวันนัดแรกของศาล แต่หากเป็นคดีแพ่งสามัญหรือคดีไม่มีข้อยุ่งยาก จะต้องยื่นคำให้การภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหมายศาล (กรณีปิดหมายเรียกและขอขยายระยะเวลาได้)
การสู้คดีเรื่องอายุความ มี 2 รูปแบบ
1. ว่าจ้างทนายทำเรื่องสู้คดี โดยทนายจะดำเนินการทำคำให้การและคำร้องต่างๆ และยื่นภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด เมื่อถึงวันนัดก็จะดำเนินการต่างๆในศาล รวมถึงเจรจากับโจทก์เท่าที่จำเป็น และดำเนินการสืบพยานในวันนัดสืบพยานของศาล เมื่อสืบพยานเสร็จก็ฟังคำพิพากษาและคัดคำพิพากษาให้แก่จำเลย ซึ่งกรณีนี้ค่าทนายจะอยู่ที่หลักหมื่น โดยทนายจะทำคดีแบบเต็มรูปแบบ โอกาสชนะคดีก็จะมีสูง ที่จะไม่ต้องจ่ายเงินตามที่โจทก์นั้นฟ้องมา โดยคุณสามารถติดต่อทนายความของสำนักงานกฎหมายของเราให้ดำเนินการสู้คดีได้ ผ่านทางช่องทางการติดต่อที่ด้านล่างของบทความนี้ได้เลยครับ
2. ให้ทนายความร่างเฉพาะคำให้การ บัญชีระบุพยาน และคำร้องอื่นๆเท่าที่จำเป็นให้ เมื่อเสร็จแล้ว ทนายความของสำนักงานทนายความของเราก็จะจัดส่งเป็นไฟล์ PDF แล้วคุณสามารถที่จะปริ้นออกมาแล้ว แล้วลงลายมือชื่อในเอกสาร แล้วนำไปยื่นต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด เมื่อยื่นคำให้การแล้วก็จะเกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท และคุณไม่จำเป็นต้องดำเนินการอะไรต่อ นอกจากไปศาลตามที่ศาลนัด และเนื่องจากคุณไม่มีทนายความก็จะต้องสืบพยาน โดยให้ฝ่ายโจทก์เป็นผู้สืบพยานไปเพียงฝ่ายเดียว หากโจทก์ไม่สามารถสืบพยานให้ศาลเห็นได้ว่า คดียังไม่ขาดอายุความ โจทก์ก็จะแพ้คดีและศาลก็จะยกฟ้อง โดยการสู้คดีในรูปแบบนี้ ค่าใช้จ่ายจะไม่สูง อย่างสำนักงานกฎหมายของเรา ค่าดำเนินการเพียงหลักพันต้นๆเท่านั้น แต่โอกาสชนะคดีก็น้อยกว่าแบบแรก โอกาสแพ้ชนะคดี 50:50
ตัวอย่างกรณีว่าจ้างสำนักงานของเรา ร่างเฉพาะคำให้การให้
กรณีนี้ผู้ว่าจ้างให้ทางสำนักงานร่างเฉพาะคำให้การ บัญชีระบุพยาน ให้เท่านั้นแล้วนำไปยื่นต่อศาลเอง โดยโจทก์เป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งหนึ่ง โดยซื้อหนี้เสียมาจากธนาคารแห่งหนึ่ง ซึ่งคดีได้ขาดอายุความเรียบร้อยแล้ว พอผู้ว่าจ้างนำคำให้การและบัญชีระบุพยานที่ทางสำนักงานไปยื่นต่อศาลเรียบร้อยแล้ว ศาลก็นัดสืบพยานในอีกเดือนถัดไป เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยสู้คดี และดูคำให้การแล้ว มีโอกาสสูงที่โจทก์จะแพ้คดี จึงมาดำเนินการขอถอนฟ้อง (เพื่อจะได้เงินค่าธรรมเนียมศาลคืน) ผลก็คือผู้ว่าจ้างไม่ต้องเสียเงินตามฟ้องแม้แต่บาทเดียว ซึ่งประหยัดไปหลายแสนบาท
อีกกรณีก็แบบเดียวกัน ธนาคารฟ้องผู้ว่าจ้างมา ผู้ว่าจ้างก็ให้สำนักงานทนายความของเรา ทำคำให้การให้แล้วนำไปยื่นเอง โจทก์ก็ถอนฟ้องทันที เพราะโจทก์ไม่สามารถจะแสดงให้ได้ว่าคดียังไม่ขาดอายุความ ซึ่งกรณีนี้ชนะคดีไปอีก 1 คดี หากคุณต้องการให้สำนักงานทนายความของเราสู้คดีแบบเต็มรูปแบบหรือเฉพาะว่าจ้างให้ร่างคำให้การให้อย่างเดียว ก็สามารถติดต่อสำนักงานกฎหมายของเราได้ทางช่องทางการติดต่อด้านล่างนี้ได้เลยครับ เราพร้อมและยินดีจะช่วยเหลือคุณอย่างเต็มที่
ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
แฟนเพจ FB : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น