ที่ดิน สปก ไม่สามารถนำไปขายหรือปล่อยเช่าได้

4043 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ที่ดิน สปก ไม่สามารถนำไปขายหรือปล่อยเช่าได้

                  ที่ดิน สปก ไม่สามารถนำไปขายหรือปล่อยเช่าได้

                  ที่ดิน สปก เป็นที่ดินที่มีวัตถุประสงค์ให้เกษตรกรทำประโยชน์ในที่ดินเพื่อหาเลี้ยงชีพ โดยที่ดิน สปก สามารถสร้างที่อยู่อาศัยของตนเอง ปลูกพืชไร่ เลี้ยงสัตว์ ได้ ซึ่งในประเทศไทยมีพื้นที่ที่เป็นที่ดิน สปก อยู่เป็นจำนวนมาก ผู้ที่จะขอที่ดิน สปก.ได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกิน เป็นเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย ต้องไม่มีอาชีพอันมีรายได้ประจำเพียงพอแก่การเลี้ยงชีพอยู่แล้ว ซึ่งรัฐจะเป็นผู้จัดสรรที่ดิน สปก ดังกล่าวให้โดยต้องไปทำเรื่องขอต่อหน่วยงานราชการอีกที (ส.ป.ก) ซึ่งเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเป็นเกษตรกร พ.ศ. 2535

                  มาตรา 3  บัญญัติว่า บุคคลซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเกษตรกร

                   (1) ผู้ยากจน ซึ่งหมายถึง ผู้มีรายได้ไม่สูงกว่าอัตรารายได้ที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด >> ปัจจุบันกำหนดไว้ที่รายละไม่เกิน 30,000 บาท ต่อคนต่อปี และรายได้ ให้หมายความรวมถึงสิทธิหรือประโยชน์อื่นที่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้ด้วย

                   (2) ผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม ซึ่งหมายถึง ผู้ที่จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่าในประเภทวิชาเกษตรกรรม

                   (3) บุตรของเกษตรกร ซึ่งหมายถึง บุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก

                   ซึ่งเมื่อได้ที่ดิน สปก มาแล้ว ที่ดิน สปก นั้นจะไม่สามารถนำไปจำหน่ายหรือนำไปปล่อยเช่าให้แก่บุคคลอื่นได้ จะไม่เหมือนกับที่ดินประเภทอื่น เพราะวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยทำเกษตรเท่านั้น หากนำไปขายหรือปล่อยเช่า การกระทำดังกล่าวนั้นจะไม่มีผลต่อกฎหมาย และไม่สามารถนำที่ดินไปใช้ประโยชน์ในทางอื่นนอกจากการทำเกษตรและใช้อยู่อาศัยรวมด้วยได้ เช่นการนำไปรีสอร์ท นำไปทำที่พัก เป็นต้น และผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน สปก. หากมีการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายอาจถูกเพิกถอนสิทธิในที่ดินดังกล่าวได้ หากมีประเด็นข้อพิพาทกันขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขาย หรือระหว่างผู้เช่ากับผู้ให้เช่า ก็จะไม่สามารถดำเนินการฟ้องร้องกันได้ตามกฎหมาย โดยที่ดิน สปก จะสามารถโอนได้เฉพาะในเครือญาติเดียวกัน และตกทอดเป็นมรดกให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมายเท่านั้น

 

 


    ทนายนิธิพล ที่ปรึกษากฎหมายด้านกฎหมาย

แฟนเพจ : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษากฎหมายด้านกฎหมาย

โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้