4357 จำนวนผู้เข้าชม |
บริษัทประกันภัยไม่จ่าย ต้องทำอย่างไร
หลายคนที่ทำประกันภัยคงอาจเจอกับการที่บริษัทประกันภัยไม่จ่ายเงิน ไม่ว่าจะเป็นประกันรถยนต์ ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอัคคีภัย ประกันสัตว์เลี้ยง เป็นต้น ที่จ่ายเบี้ยประกันไปแล้วแต่พอเกิดเหตุที่จะต้องเครมประกันหรือเอาประกันภัยจริงๆ บริษัทประกันภัยกลับไม่จ่าย หรือจ่ายไม่เต็มจำนวน หรือมักจะมาต่อรองเสนอจ่ายค่าเสียหายในจำนวนที่ต่ำ แม้จะอยู่ในเงื่อนไขตามกรมธรรภ์แล้วก็ตาม หากคุณกำลังประสบณ์กับปัญหาดังกล่าวมีวิธีทางแก้ดังต่อนี้
1. ส่งหนังสือทวงถามไปยังบริษัทประกัน โดยหนังสือทวงถามนี้แนะนำให้ทางสำนักงานกฎหมายหรือสำนักงานทนายความเป็นคนออกให้และส่งไปยังสถานที่ตั้งของบริษัทประกันภัยให้ทราบว่าหากยังไม่จ่ายเงินตามกรมธรรภ์จะดำเนินการฟ้องร้อง ซึ่งข้อดีของการส่งหนังสือทวงถามไปยังบริษัทประกันภัยนั้น เป็นขั้นตอนที่ง่ายและประหยัดที่สุด และก็มีหลายกรณีที่ส่งหนังสือทวงถามไปแล้ว บริษัทประกันภัยก็ยอมจ่าย
2. ทำหนังสือร้องเรียนพร้อมกับสัญญากรมธรรภ์และหลักฐานความเสียหายต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือตัวย่อ คปภ. ซึ่งตั้งอยู่ที่ เลขที่ 22/79 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ซึ่งเมื่อร้องเรียนแล้วทาง คปภ. จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและจะดำเนินการติดตามการชำระเงินของประกันภัยให้รวมถึงเป็นตัวกลางในการเจรจาในบางกรณี
3. แต่หากการดำเนินการดังที่กล่าวมาไม่เป็นผล คุณสามารถว่าจ้างทนายให้ทำเรื่องฟ้องบริษัทประกันภัยด้วยตนเองได้เลย ข้อดีมีโอกาสได้เงินตามเต็มตามความเสียหายที่เกิดขึ้นและครอบคลุมตามกรมธรรภ์ และเมื่อศาลพิพากษาและคดีถึงที่สุดแล้ว บริษัทประกันภัยก็จะชำระเงินตามคำพิพากษาอย่างแน่นอน ยกเว้นบริษัทประกันภัยนั้นกำลังจะล้มละลายหรือกำลังขอฟื้นฟูกิจการ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนทำประกันกับบริษัทประกันภัยใดๆก็ตามควรอ่านเงื่อนไขของกรมธรรภ์ให้ชัดเจนว่าตรงตามความต้องการหรือไม่ เพราะหากเกิดความเสียหายที่ต้องเอาเงินประกันแล้ว ลักษณะการเกิดความเสียหายอาจจะไม่เข้าเงื่อนไขของกรมธรรภ์ได้ เท่ากับว่าเงินที่จ่ายเบี้ยประกันไปอาจศูนย์เปล่า จึงควรให้อ่านและทำความเข้าใจเงื่อนไขทั้งหมดก่อนจะตกลงทำประกันกับบริษัทประกันใดๆก็ตาม
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6711/2553
ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโต้แย้งว่า จำเลยรับประกันชีวิตจ่าสิบเอกเกรียงไกร มีกำหนด 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 ครบรอบปีกรมธรรม์วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 ตามกรมธรรม์ประกันชีวิตกลุ่มและรายงาน บัญชีชื่อพนักงานฯ ต่อมาวันที่ 12 พฤษภาคม 2544 จ่าสิบเอกเกรียงไกรถึงแก่ความตาย เนื่องจากช็อกเพราะ ขาดน้ำอย่างรุนแรง จำเลยตรวจสอบประวัติทางการแพทย์ของจ่าสิบเอกเกรียงไกรจึงทราบว่าจ่าสิบเอกเกรียง ไกรติดเชื้อโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (H.I.V.) หรือโรคเอดส์มาตั้งแต่ปี 2536 ตามแบบสรุปผลการตรวจและรักษาผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่ปกปิดไม่แจ้งข้อเท็จจริงให้ทราบในใบสมัครเอาประกันภัยกลุ่มฯ สัญญาประกันชีวิตจึงเป็นโมฆียะ จำเลยบอกล้างนิติกรรมและปฏิเสธการจ่ายเงินไปยังโจทก์ตามหนังสือฉบับลง วันที่ 8 สิงหาคม 2544 คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยประการแรกว่า ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระยะเวลาตามกฎหมายในการบอกล้างนิติกรรมและพิพากษาให้จำเลยต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันชีวิตกลุ่ม เนื่องจากจ่าสิบเอกเกรียงไกรถึงแก่ความตายเป็นการพิจารณาพิพากษานอกฟ้อง นอกประเด็นหรือไม่ เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประโยชน์จากการถึงแก่ความตายของจ่าสิบเอกเกรียงไกรซึ่งประกันชีวิตไว้ต่อจำเลย จำเลยให้การรับว่าได้รับประกันชีวิตจ่าสิบเอก เกรียงไกร แต่ยกข้อต่อสู้ว่านิติกรรมเป็นโมฆียะและได้บอกล้างแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนด ประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันชีวิตตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด และให้ จำเลยมีภาระการพิสูจน์จึงเป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ ข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันชีวิต คือ จ่าสิบเอกเกรียงไกรปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคภูมิคุ้มกัน บกพร่อง (H.I.V.) หรือโรคเอดส์และจำเลยได้บอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียกรรมภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคสอง บัญญัติ ให้สิทธิไว้ ส่วนการที่โจทก์บรรยายฟ้องปฏิเสธเหตุแห่งโมฆียกรรมโดยมิได้กล่าวถึงการบอกล้างโมฆียกรรมของจำเลยได้กระทำภายในระยะเวลาที่บัญญัติในมาตรา 865 วรรคสอง หรือไม่นั้น หาเป็นเหตุให้ถือว่าไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ไม่ เพราะหลักเกณฑ์ในการบรรยายฟ้องให้ถูกต้องตามกฎหมายดังที่ประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติไว้กำหนดให้โจทก์ต้องบรรยายคำฟ้องโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพ แห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเท่านั้น โดยมิได้บัญญัติให้โจทก์ต้องบรรยายถึงข้อปฏิเสธความรับผิดของจำเลยในชั้นก่อนฟ้องมาเป็นสาระสำคัญของคำฟ้องด้วย ดังนี้ในชั้น พิจารณาจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยซึ่งปฏิเสธความรับผิดตามที่โจทก์ฟ้องมีภาระการพิสูจน์จะต้องนำสืบให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์แห่งข้อยกเว้นความรับผิดในฐานะผู้รับประกันชีวิตจ่าสิบเอกเกรียงไกร ที่ศาลล่างทั้ง สองวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระยะเวลาในการบอกล้างนิติกรรมและพิพากษาคดีมานั้น จึงไม่เป็นการพิจารณาพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น นอกจากนี้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงจากแบบคำร้องขอรับสินไหม ทดแทน ซึ่งจำเลยอ้างส่งต่อศาล และศาลชั้นต้นรับฟังว่าพนักงานสินไหมของจำเลยได้รับใบรับรองแพทย์ ผู้รักษาหรือใบพิสูจน์มรณะเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2544 ตามข้อความในตรายางที่ประทับไว้และจำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้ง อีกทั้งมิได้นำสืบข้อเท็จจริงให้รับฟังได้ว่า กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยได้รับทราบข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งโมฆียกรรมนั้นเมื่อใดตามภาระการพิสูจน์ของจำเลย ฉะนั้นที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย ต้องกันมาว่า ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้บอกล้างโมฆียกรรมภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงชอบ ด้วยเหตุผลและถูกต้องตามกฎหมาย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน โจทก์ไม่ได้แก้ฎีกา จึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นฎีกาให้
ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
แฟนเพจ FB : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น