6 ขั้นตอนในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกต่อศาล ไม่ยากอย่างที่คิด

Last updated: 14 พ.ย. 2567  |  22838 จำนวนผู้เข้าชม  | 

6 ขั้นตอนในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกต่อศาล ไม่ยากอย่างที่คิด

              6 ขั้นตอนในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกต่อศาล

              ผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกได้ ได้แก่ ทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดก เจ้าหนี้ของผู้ตายในกรณีไม่มีทายาท ผู้ที่ถูกระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดก หรือบุคคลที่ทายาททุกคนยินยอมให้เป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งการจะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกนั้นจำเป็นที่ทายาทคนอื่นๆที่มีสิทธิได้รับได้รับมรดกควรที่จะให้ความยินยอมด้วย แต่หากไม่ได้รับความยินยอมก็สามารถที่จะส่งคำร้องไปให้ทายาทที่ไม่ให้ความยินยอมได้ เพื่อให้สิทธิทายาทคนนั้นมาคัดค้านในศาลในวันนัดไต่สวนคำร้อง แต่กรณีพินัยกรรมไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากทายาท โดยการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกต่อศาลนั้น สามารถจะกระทำเองได้ เว้นแต่กรณีมีทายาทมาคัดค้านการขอผู้จัดการมรดกที่จำเป็นจะต้องมีทนายความด้วย แต่อย่างไรก็ตามก็ควรที่จะมีทนายความดำเนินการร้องขอต่อศาลให้ทั้งหมด เพราะการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกมีความยุ่งยากทั้งในส่วนการเตรียมเอกสารและขั้นตอนต่างๆในศาล และยิ่งมีทรัพย์มรดกหรือจำนวนทายาทเป็นจำนวนมาก ก็จะยิ่งมีความยุ่งยากมากยิ่งขึ้นไปอีก

            ซึ่งการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกโดยไม่มีทายาทคนใดมาคัดค้านกระบวนการพิจารณาคดีในศาลก็จะเสร็จไปอย่างรวดเร็ว ใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือนเท่านั้น แต่หากมีทายาทคนใดมาคัดค้านการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ก็จะถือเป็นคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทโต้แย้งกันและจะใช้ระยะเวลานานยิ่งขึ้นกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษา

            ซึ่งขั้นตอนการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกมีดังต่อไปนี้

           ขั้นตอนที่ 1: เตรียมเอกสารในเบื้องต้นที่เกี่ยวกับผู้ตาย ทายาท และทรัพย์สิน เพื่อประกอบในการปรึกษากับทนายความ ไม่ว่าจะเป็นการให้ทนายดำเนินคดีให้แบบเต็มรูปแบบ หรือให้ทนายความร่างคำร้องและเตรียมเอกสารให้ก็ตาม เพราะการร้องผู้จัดการมรดกในศาลควรจะได้รับคำแนะนำและความช่วยเหลือจากทนายความที่มีความชำนาญในกฎหมายเรื่องมรดก หากทำผิดพลาดแม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตามก็จะส่งผลเสียแก่คดีได้ คุณควรติดต่อทนายความที่เชี่ยวชาญด้านนี้เพื่อขอคำปรึกษาและคำแนะนำในการเตรียมเอกสารและกระบวนการที่เหมาะสมต่อคดีของคุณ

           ขั้นตอนที่ 2: รวบรวมเอกสารทั้งหมดตามที่ทนายได้แจ้ง ในส่วนที่ยังขาดอยู่ ซึ่งเอกสารสำคัญจะประกอบไปด้วย ใบมรณบัตร สำเนาทะเบียนบ้าน ใบสำคัญการสมรส สูติบัตร สำเนาบัตรประชาชน หนังสือให้ความยินยอมของทายาท พินัยกรรม เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สินเช่น โฉนดที่ดิน ทะเบียนรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละคดีเอกสารที่ใช้อาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและบริบทที่ไม่เหมือนกัน

           ขั้นตอนที่ 3: เมื่อรวบรวมข้อเท็จจริงและหลักฐานเรียบร้อยแล้ว ทนายความก็จะเตรียมร่างคำร้องพร้อมกับบัญชีระบุพยาน หรือหมายเรียกพยานที่ไม่ให้ความยินยอม เพื่อเตรียมยื่นต่อศาลให้อยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อคดีของคุณ

           ขั้นตอนที่ 4: ยื่นคำร้องให้ศาล และชำระค่าธรรมเนียมศาล เมื่อทนายความยื่นคำร้องต่อศาลเรียบร้อยแล้ว ศาลก็จะกำหนดวันนัดเพื่อไต่สวนคำร้องว่าผู้ร้องมีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ และจะมีทายาทคนอื่นมาคัดค้านการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ร้องหรือไม่ในวันนัดของศาล

           ขั้นตอนที่ 5: หากเป็นรูปแบบของสำนักงานทนายนิธิพล ก็จะมีการนัดซ้อมถามตอบกับลูกความก่อนถึงวันนัดไต่สวนคำร้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเบิกความต่อศาลและประเมินข้อผิดพลาดและเน้นแก้ไขจุดที่ผิดพลาดเพื่อให้วันนัดไต่สวนคำร้องไม่ติดปัญหาอะไรหรือหากมีก็ให้มีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยกำหนดนัดล่วงหน้าอย่างน้อย 1-2 อาทิตย์ ก่อนถึงวันนัดไต่สวนคำร้อง

           ขั้นตอนที่ 6: เมื่อถึงวันนัดไต่สวนคำร้อง หากไม่มีทายาทคนใดมาคัดค้านก็ดำเนินการไต่สวนคำร้องไปได้ทันที โดยทนายจะถามคำถาม และลูกความตอบคำถามตามที่ได้ซักซ้อมกันไว้ เมื่อเบิกความเสร็จแล้ว ศาลก็จะแถลงให้เป็นผู้จัดการมรดก จากนั้นก็รอเซ็นเอกสาร และถือว่าเสร็จสินกระบวนการ เหลือเพียงรอให้คัดคำสั่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก และรอให้ครบ 1 เดือน นับจากวันที่ศาลมีคำสั่ง เพื่อขอคัดหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดจากที่ศาล เมื่อถึงกระบวนการนี้ก็ถือว่าคดีจบเรียบร้อยแล้ว และนำคำสั่งศาลไปติดต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดก หรือธนาคารเพื่อแบ่งให้แก่ทายาทในลำดับต่อไป

          แต่หากมีทายาทมาคัดค้านในวันนัดไต่สวนคำร้อง ซึ่งผู้ที่จะคัดค้านต้องเตรียมคำคัดค้านมายื่นต่อศาลด้วยและต้องมีทนายความ ซึ่งเมื่อมีการคัดค้านเรียบร้อยแล้ว การไต่สวนคำร้องก็จะถูกเลื่อนออกไปเป็นวันอื่น และเมื่อถึงวันนั้นก็จะต้องมีการเบิกความของแต่ละฝ่ายและถามค้านเพื่อทำลายน้ำหนักของพยานกันอีกที หลังจากนั้นศาลจะมีคำสั่งว่าจะให้ใครเป็นผู้จัดการมรดก หรือจะเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันอีกที

          หากคุณต้องการทนายความเพื่อช่วยเหลือในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกจนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษา หรือต้องการให้ทนายความร่างคำร้องและเตรียมพยานหลักฐานกับประกอบคำร้องให้และนำไปยื่นต่อศาลอีกที สามารถติดต่อให้สำนักงานทนายความของเราดำเนินการช่วยเหลือในคดีของคุณได้ ซึ่งค่าดำเนินการในการร่างคำร้องและเตรียมเอกสารจะมีค่าดำเนิการอยู่ที่หลักพันเท่านั้น ส่วนการว่าจ้างทนายแบบเต็มรูปแบบก็จะประเมินจากความยากง่ายของคดีอีกที ซึ่งสำนักงานกฎหมายของเราพร้อมและยินดีที่จะช่วยเหลือคุณอย่างเต็มที่ โดยคุณสามารถติดต่อได้ทางช่องทางการติดต่อด้านล่างนี้ได้เลยครับ

 

 


ทนายนิธิพล ที่ปรึกษากฎหมายด้านกฎหมาย

แฟนเพจ : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษากฎหมายด้านกฎหมาย

โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้