Last updated: 24 พ.ค. 2566 | 12401 จำนวนผู้เข้าชม |
เมื่อคู่สมรสที่จดทะเบียนกันตามกฎหมาย ต้องการที่จะแยกทางกัน และจดทะเบียนหย่าร้างกัน คู่สมรสทั้งสองฝ่ายจะต้องสมัครใจยินยอมที่หย่าด้วยกันทั้งสองฝ่าย และไปจดทะเบียนหย่าและลงลายมือชื่อของตนเองที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอของแต่ละจังหวัด ในพื้นที่ที่เคยไปจดทะเบียนสมรสกัน โดยพาพยานได้ด้วยจำนวน 2 คน โดยพยานจะเป็นบุคคลใดก็ได้ และไม่จำกัดว่าจะเป็นพยานของคู่สมรสฝ่ายใด ซึ่งระหว่างจดทะเบียนหย่ากันนั้น เจ้าหน้าที่ก็จะสอบถามถึงข้อตกลงที่ต้องการจะตกลงกันว่า ภายหลังจากหย่าเรียบร้อยแล้ว มีข้อตกลงร่วมกันอะไรบ้าง ซึ่งทางสำนักงานของเราจะแนะนำสิ่งที่สามารถบันทึกลงไปในทะเบียนหย่า (ข้อตกลงสลักหลังใบหย่า , สัญญาหย่า) ได้ โดยจะมี 3 เรื่องหลักๆ ดังต่อนี้
1. อำนาจปกครองบุตร หากคู่สมรสมีบุตรร่วมกัน สามารถที่จะบันทึกข้อตกลงในเรื่องอำนาจปกครองบุตรลงไปในใบทะเบียนการหย่าได้ ไม่ว่าจะตกลงให้ แม่มีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว พ่อมีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว หรือทั้งสองฝ่ายยังมีอำนาจปกครองบุตรร่วมกันอยู่ แต่หากคู่สมรสทั้งสองฝ่ายไม่มีบุตรร่วมกันก็ไม่ต้องระบุในเรื่องดังกล่าวนี้
2. ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร หรือค่าเลี้ยงดูบุตร ตามข้อ 1. หากคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีบุตรร่วมกัน หากตกลงให้ฝ่ายใดเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตร หรือให้ฝ่ายใดเป็นผู้เลี้ยงดูบุตร อีกฝ่ายต้องร่วมชำระค่าใช้จ่ายของบุตรแต่ในละเดือน เช่น มารดาเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว บิดาตกลงยินยอมชำระค่าเลี้ยงดูบุตร เดือนละ 5,000 บาท ทุกวันสิ้นเดือนของทุกเดือน เป็นต้น และยังสามารถบันทึกการชำระค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าศึกษาเล่าเรียนของลูกได้ด้วย
3. การแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส หากคู่สมรสมีทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรส หรือมีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันมา หรือแม้จะเป็นสินส่วนตัวก็ตาม คู่สมรสก็สามารถตกลงจัดสรรแบ่งทรัพย์สินตามที่ได้ตกลงกันได้และบันทึกการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวลงในทะเบียนการหย่าได้ หรือจะตกลงกันว่าไม่ประสงค์จะแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันก็สามารถบันทึกได้
ส่วนหากคู่สมรสยังมีข้อตกลงในประการอื่นๆ ทั้งในเรื่องสิทธิ การเรียกเงินและการกระทำให้กระทำสิ่งใดหรือไม่กระการสิ่งใด ควรทำเป็นบันทึกข้อตกลงขึ้นมาอีกหนึ่งฉบับนี้ ซึ่งจะสามารถระบุเนื้อหาของข้อตกลงได้อย่างครบถ้วนทั้งหมด และหากคู่สมรสฝ่ายใดผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ก็มีสิทธิที่จะนำข้อตกลงใบทะเบียนการหย่าและบันทึกข้อตกลง นำไปฟ้องร้องต่อศาลเพื่อบังคับให้เป็นไปตามสัญญาได้ โดยบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจะทำร่างขึ้นมาด้วยตนเอง หรือจะให้ทางสำนักงานกฎหมายหรือสำนักงานทนายความ ดำเนินการร่างให้เพื่อให้เกิดความรัดกุมและเป็นไปตามกฎหมายสามารถนำไปฟ้องร้องโดยไม่ติดปัญหาในเรื่องของสัญญา ก็สามารถจะทำได้เช่นเดียวกัน
หากคุณกำลังประสบปัญหาในเรื่องข้อตกลงหลังหย่า ก็สามารถที่จะติดต่อเพื่อขอปรึกษากับสำนักงานของเราได้ หรือต้องการให้สำนักงานทนายความของเราดำเนินการร่างบันทึกข้อตกลงหลังหย่าให้แก่คุณได้ หรือแม้จะเป็นการฟ้องหย่าในกรณีที่คู่สมรสไม่สามารถตกลงร่วมกันในเรื่องใดๆก็ตาม และจำเป็นต้องให้ศาลเป็นผู้พิพากษาชี้ขาดคดี ทางสำนักงานของเราก็พร้อมและยินดีที่จะดำเนินการเพื่อให้ความต้องการของคุณบรรลุผล โดยคุณสามารถติดต่อทางสำนักงานของเราทางช่องทางการติดต่อด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ
ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
แฟนเพจ FB : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น