4862 จำนวนผู้เข้าชม |
ศาลพิพากษาให้จ่ายค่าปรับแต่ไม่มีเงินจ่ายค่าปรับ สามารถขอศาลทำงานบริการสังคมแทนการจ่ายค่าปรับได้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 30/1
โดยมีเงื่อนไข คือ
1 . ผู้ต้องโทษต้องเป็นบุคคลธรรมดา ไม่มีเงินจ่ายค่าปรับ
2. ศาลพิพากษาปรับ ไม่เกิน 80,000 บาท
3. โดยการทำงานบริการสังคม 1 วัน ( ประมาณ 1-4 ชั่วโมง ต่อวัน ) จะเท่ากับเงินค่าปรับ 500 บาท
4. ผู้ต้องโทษต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอทำงานบริการสังคม หรือทำงานสาธารณประโยชน์ แทนการจ่ายค่าปรับได้ ศาลจะพิจารณาจาก ฐานะการเงิน ประวัติและสภาพความผิดของผู้ต้องโทษ
5. เมื่อศาลอนุญาตให้ผู้ต้องโทษทำงานบริการสังคม หรือทำงานสาธารณประโยชน์ โดยต้องทำงานภายใต้การดูแลของพนักงานคุมความประพฤติ เจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์การซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริการสังคม การกุศลสาธารณะหรือสาธารณประโยชน์ที่ยินยอมดูแลตามที่ศาลมีคำสั่ง และเริ่มบริการสังคมจนครบกำหนด
6. กิจกรรมการขอทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ มีดังนี้
- งานช่วยเหลือดูแลอำนวยความสะดวกหรือให้ความบันเทิงแก่ คนพิการ คนชรา เด็กกำพร้า หรือผู้ป่วยในสถานสงเคราะห์หรือสถานพยาบาล
-งานวิชาการหรือสถานบริการด้านการศึกษา เช่น การสอนหนังสือ การค้นคว้าวิจัย การแปลเอกสาร
-งานวิชาชีพ งานฝีมือ หรืองานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ เช่น งานเครื่องยนต์ ก่อสร้าง
- งานบริการสังคมหรือบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เช่น งานจราจร งานพัฒนาสถานที่สาธารณะ งานปลูกป่า งานทำความสะอาดวัด โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว
7. หากผู้ต้องโทษมีเงินจ่ายค่าปรับแล้ว สามารถขอยกเลิกงานบริการสังคมได้ โดยการยื่นคำร้องขอยกเลิกที่ศาลได้
ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วินด์
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ปรึกษากฎหมายฟรี
ติดต่อ ทนายนิธิพล โทร 095-453-4145