47904 จำนวนผู้เข้าชม |
ใครมีสิทธิดีกว่านั้นต้องพิจารณาจากอำนาจปกครองบุตรซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ
กรณีแรก พ่อและแม่ทีได้จดทะเบียนสมรสกัน หรือพ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสแต่พ่อได้จดทะเบียนรับรองบุตร ในกรณีเช่นนี้ พ่อและแม่มีอำนาจปกครองบุตรเท่ากัน ซึ่งหากทั้งคู่สามารถตกลงแบ่งกันใช้อำนาจปกครองบุตรกันได้ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่สามารถตกลงแบ่งอำนาจปกครองบุตรกันได้ ก็จำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อพิจารณาว่าใครมีสิทธิดีกว่ากัน โดยศาลจะพิจารณาจาก นิสัยพฤติกรรมของพ่อและแม่ ฐานะสภาพการเงินในการเลี้ยงดู ความพร้อมในการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดู ระยะเวลาในการเลี้ยงดู และสิ่งสุดท้ายคือลูกอยากอยู่กับใคร ซึ่งหากพิจารณาจากสิ่งเหล่านี้แล้วศาลจะเลือกผู้ที่มีความพร้อมและความเหมาะสมมากกว่าในการมีอำนาจปกครองบุตร
แต่ถึงอย่างไรก็ดีหากฝ่ายที่ไม่มีอำนาจปกครองบุตรก็มีสิทธิสามารถมาพบเจอลูกได้ตามสมควรแก่ประพฤติการณ์ ตามมาตรา 1584/1 บิดาหรือมารดาย่อมมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่าบุคคลใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองก็ตาม
กรณีที่สอง คือ พ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน กรณีเช่นนี้ บุตรที่เกิดมาอำนาจปกครองบุตรจะอยู่ที่แม่แต่เพียงผู้เดียว เพราะกฎหมายให้ถือว่าเด็กที่เกิดจากหญิงที่ไม่ได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ตามมาตรา 1546 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นจึงต้องถือว่าพ่อไม่มีสิทธิในตัวลูกเลย แม้ว่าพ่อจะยินยอมให้ลูกใช้นามสกุล ให้การเลี้ยงดู ให้การศึกษาหรือเซ็นชื่อในใบสูติบัตรของลูก สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้บุตรเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของพ่อ ดังนั้นแม่จึงเป็นผู้ที่มีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วิน
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ปรึกษากฎหมายฟรี
ติดต่อ ทนายนิธิพล โทร 095-453-4145