232795 จำนวนผู้เข้าชม |
ข้อแตกต่าง ระหว่างแจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับแจ้งความเพื่อใช้เป็นหลักฐาน
การแจ้งความร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดี คือ การร้องทุกข์ที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ ว่ามีผู้กระทำความผิดต่อผู้ตัวผู้เสียหาย จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และแจ้งความนั้นเป็นการกล่าวหาโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ โดยทางตำรวจจะจดบันทึกคำร้องทุกข์ ลงใน “ รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี ” และในรายงานนั้นจะต้องระบุอย่างละเอียดว่ามีความประสงค์จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายต่อไป
แจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน คือ การจดข้อความลงไปใน “ รายงานประจำวันเพื่อเป็นหลักฐาน ” ซึ่งไม่ถือเป็นการมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนนคดีตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์ เพราะยังไม่ได้มีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ เป็นเพียงการลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น ส่วนมากการลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน จะเป็นการบันทึก เรื่องเอกสารสำคัญหาย เช่น บัตรประชาชน หนังสือเดินทาง เพื่อที่จะได้นำบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานต่อไป เพื่อทำเอกสารฉบับใหม่ขึ้นมา หรือบันทึกเรื่องราวไว้หากเกิดความเสียหายในอนาคตหรือเป็นการป้องกันตัวเอง เช่น ได้ให้ข้อมูลมิจฉาชีพไป แล้วกลัวว่ามิจฉาชีพจะนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิด ก็สามารถที่จะมาลงบันทึกประจำวันไว้ได้ เพราะมิจฉาชีพเอาข้อมูลไปใช้ ก็สามารถที่จะเอาบันทึกประจำวันไปแสดงเป็นหลักฐานไว้ได้ว่าเคยได้ให้ข้อมูลมิจฉาชีพไป
ดังนั้น หากผู้ใดประสงค์ จะดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ต้องเช็คดูดีๆ ว่าการที่ไปแจ้งความนั้น ได้แจ้งความร้องทุกข์ ให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดหรือไม่ เพราะหากเป็นเพียงการลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ภายหลังอาจทำให้ คดีขาดอายุความได้ และไม่สามารถแจ้งความร้องทุกข์ให้เอาผิดกับผู้กระทำความผิดได้อีก เนื่องจากขาดอายุความในการแจ้งความร้องทุกข์ไปแล้ว อย่างเช่นในคดีความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งมีอายุความเพียง 3 เดือน โดยนับแต่รู้หรือควรจะรู้ถึงการกระทำความผิด
และหากตำรวจไม่รับแจ้งความทางสำนักงานของเราได้มีลงบทความวิธีการแก้ปัญหาไว้แล้ว สามารถเข้าไปดูได้เลยครับ https://bit.ly/3df85A6
ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วิน
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
ติดต่อ ทนายนิธิพล โทร 095-453-4145