Last updated: 26 ต.ค. 2564 | 17893 จำนวนผู้เข้าชม |
ตามกฎหมายหากมีการเซ็นใบลาออก ลูกจ้างจะไม่ได้รับเงินชดเชยใดๆทั้งสิ้น เพราะถือว่าสมัครใจลาออกเอง แต่หากในกรณีที่โดนบังคับให้เซ็นยินยอมลาออก ทั้งที่ไม่ได้สมัครใจลาออก จะถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด หรือเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างตามกฎหมาย ซึ่งตาม พรบ คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 118 ได้กำหนดค่าชดเชยไว้คือ
· ทำงาน 120 วัน แต่ไม่ครบปี = 30 วัน
· ทำงาน 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี = 90 วัน
· ทำงาน 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี = 180 วัน
· ทำงาน 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี = 240 วัน
· ทำงาน 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี = 300 วัน
· ทำงาน 20 ปีขึ้นไป = 400 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2548 จำเลยเป็นฝ่ายบีบบังคับให้โจทก์ยื่นใบลาออกโดยพูดว่าหากไม่ยื่นใบลาออกจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ในภาวะเช่นนั้นโจทก์ซึ่งอยู่ในฐานะลูกจ้างย่อมเกิดความกลัวและยอมทำใบลาออกให้แก่จำเลย การเขียนใบลาออกของโจทก์จึงเกิดขึ้นเพราะการพูดข่มขู่ของจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวประกอบกับการที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกทันทีฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาจะไม่ให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไปและจะไม่จ่ายค่าจ้าง ดังนั้นพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้าง
ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วิน
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ปรึกษากฎหมายฟรี
ติดต่อ ทนายนิธิพล โทร 095-453-4145