บริการบังคับคดี

          การบังคับคดี จะทำได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการศาลมาก่อน ถึงจะทำการบังคับคดีได้
          เมื่อมีการฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่งเมื่อชนะคดีแล้ว จะไม่เหมือนคดีอาญาที่มีโทษจำคุกและเสียค่าปรับ แต่โทษของการกระทำความผิดทางแพ่ง เป็นการสั่งให้ปฎิบัติตามคำพิพากษา อีกฝ่ายที่ศาลสั่งให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา แล้วไม่ปฎิบัติตาม ฝ่ายที่ชนะคดีจะต้อง ทำเรื่องบังคับคดี ต่อกรมบังคับคดีให้เขาปฎิบัติตามคำพิพากษา หนี้ทางแพ่งที่ต้องกระทำการบังคับคดี เช่น หนี้ตามสัญญากู้ยืม หนี้ในมูลละเมิด หนี้ตามสัญญาซื้อขาย หนี้ตามสัญญาจำนอง หนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ หนี้ตามสัญญาค้ำประกัน  และฯลฯ

                                                                                 
     ลำดับ                                       รายละเอียด
      1. ตกลงทำสัญญาจ้างระหว่างผู้ว่าจ้างกับทนายความ 
       2.ส่งหนังสือมอบอำนาจ ,  หนังสือมอบอำนาจยึดทรัพย์ ให้ผู้ว่าจ้างเซ็นมอบอำนาจให้กับทนายความ
       3.ตามสืบทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ โดยการติดต่อที่กรมที่ดิน หรือกรมขนส่งทางบก  ฯลฯ ทรัพย์สินที่สามารถยึดได้ คือ อสังหาริมทร์ทรัพย์ บ้าน ที่ดิน หุ้น เงินในบัญชีธนาคาร รถยนต์ เงินเดือน ฯลฯ  โดยใชระยะเวลา ประมาณ 1 – 3  เดือน หรือหากไม่เจอทรัพย์สินทนายจะทำการติดตามสืบทรัพย์เรื่อยๆ ภายใน 10 ปี
       4.เมื่อพบทรัพย์สินแล้ว ติดต่อกรมบังคับคดี และยื่นคำร้องต่างๆ ต่อศาล เพื่อทำการแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี  โดยการยื่นคำขอ ขอยึดทรัพย์ และเจ้าพนักงานบังคับคดีจะทำการตรวจสอบคำขอยึดทรัพย์ และกระทำการยึดทรัพย์ ยึดทรัพย์ เรียบร้อย ก็กำหนดวันขายทอดตลาด ครั้งแรก เมื่อพ้น 60 วัน นับตั้งแต่วันยึดทรัพย์   ระยะเวลา ในการประกาศขายทอดตลาด ประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี
       5.ทางทนายจะเข้าร่วมพิจารณากับเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการประมูลขายทอดตลาดทุกครั้งเพื่อติดตามการประมูลการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้
       6.หากลูกหนี้ต้องการเจรจาขอชำระหนี้เพื่อไม่ให้อายัดทรัพย์สิน , ถอนการบังคับ , งดการบังคับคดี  ทางทนายความจะเป็นผู้เจรจาเกี่ยวกับการชำระหนี้แทนผู้ว่าจ้าง
      7. เมื่อมีหากลูกหนี้ไม่ย้ายออกจากทรัพย์สินที่ทำการบังคับขายทอดตลาด ทนายความจะเป็นผู้ติดตามเจ้าหน้าที่บังคับคดี ทำการขับไล่ลูกหนี้
       8.ระยะเวลาในการดำเนินงาน เริ่มดำเนินการหลักจากมีการลงลายมือชื่อสัญญาว่าจ้าง ไปจนกว่าผู้ว่าจ้างจะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ทั้งหมด หากมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินแล้ว ผู้ว่าจ้างยังไม่ได้รับเงินตามจำนวนที่ศาลสั่ง ทนายความจะดำเนินการติดตามลูกหนี้ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อสืบหาทรัพย์สินอื่นๆต่อไปเรื่อยๆ จนถึง10 ปี นับจากมีคำพิพากษาของศาล

  

   ยินดีต้อนรับและให้บริการท่าน 
  สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วิน

แฟนเพจ ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
 โทร : 095-453-4145 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้